ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สรุปผลกระทบในระยะ 10 กิโลเมตร จากเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว

เผยข้อมูล 221 โครงการจัดสรร-คอนโดในพื้นที่เสี่ยง รัศมี 5 กิโลเมตร และ 916 โครงการในรัศมี 10 กิโลเมตร รอบเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว จากฐานข้อมูลวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ บจก. เอเจนซี่ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส บนเว็บไซต์ Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์

เช็คดู ข้อมูลในพื้นที่เสี่ยง ที่นี่  https://www.feasyonline.com/viewkingkaew

ในระยะ 9 กิโลเมตร อากาศยังอันตราย

จากเหตุการณ์ไฟไหม้และระเบิดภายในโรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด เลขที่  87 หมู่ 15 ซอย 21 ถนนกิ่งแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ พื้นที่รอบข้างทั้งโรงงานและที่อยู่อาศัยในบริเวณข้างเคียงได้รับผลกระทบจากแรงระเบิดและเพลิงไหม้เป็นจำนวนมาก โดยมีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย และผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 10 คน อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในพื้น ในรัศมี 500 เมตร  ถึง 9 กม. ถือว่ากระทบต่อสุขภาพ ระบบหายใจเมื่อสูดดม โดย GISTDA ได้ติดตามสถานการณ์ไฟไหม้จากถังเคมีระเบิดภายในบริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ใน จ.สมุทรปราการ โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2 ของวันนี้ เมื่อเวลา 10.35 น. พบว่าสภาพพื้นที่โดยรอบของจุดเกิดเหตุที่ประกอบด้วยชุมชนกว่า 994 แห่ง และโรงงานอีกกว่า 1,120 แห่ง ผลการตรวจวัดคุณภาพบรรยากาศในพื้นที่โดยรอบในระยะ 500 เมตร - 9 กิโลเมตร โดยตรวจวัดระดับขีดจำกัดการติดไฟ (%LEL) ปริมาณสารอินทรีย์ระเหย (VOCs)  ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) พบว่าอยู่ในเกณฑ์ค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน 

994 หมู่บ้าน 1,120 โรงงานกระทบ ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว กรมควบคุมมลพิษ เปิดสาเหตุระเบิด กระจายไกล

 

เช็คข้อมูลโครงการที่อยู่อาศัยในรัศมี 5-10 กิโลเมตร

    จากข้อมูลของฝ่ายวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ บจก. เอเจนซี่ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส บนเว็บไซต์ Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ เผยข้อมูล 221 โครงการจัดสรร-คอนโดในพื้นที่เสี่ยง รัศมี 5 กิโลเมตร และ 916 โครงการในรัศมี 10 ก.ม. ดังนี้

รูปภาพประกอบด้วย แผนที่คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ

ในรัศมี 5 กม. มีโครงการที่อยู่อาศัย 221 โครงการ แบ่งเป็น 

- คอนโด 12 โครงการ

- บ้านเดี่ยว/บ้านแฝด 109 โครงการ

- ทาวน์เฮาส์/ทาวน์โฮม 100 โครงการ

 

ในรัศมี 10 กม. มีโครงการที่อยู่อาศัย 916 โครงการ แบ่งเป็น 

- คอนโด 166 โครงการ

- บ้านเดี่ยว/บ้านแฝด 341 โครงการ

- ทาวน์เฮาส์/ทาวน์โฮม 409 โครงการ

 

จะเห็นว่าข้อมูลที่อยู่อาศัยข้างต้นก็เป็นจำนวนที่มากแล้ว อย่างไรก็ตามข้อมูลข้างต้น คือ จำนวนโครงการจัดสรร และคอนโดมิเนียมจากผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน ยังไม่รวมกับโครงการที่อยู่อาศัยของภาครัฐ และชุมชนในพื้นที่ หรือบ้านปลูกสร้างเอง หากพิจารณาถึงผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ผู้ว่าฯ สมุทรปราการ ระบุมีประชาชน 80,916 คน ได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงาน บาดเจ็บ 33 คน เสียชีวิต 1 คน โดยพื้นที่ประสบสาธารณภัย 4 ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ราชาเทวะ หมู่ที่ 1-15 จำนวน 22,563 ครัวเรือน ประชากร 34,736 คน คน, ต.บางพลีใหญ่ หมู่ที่ 13-17 จำนวน 7 หมู่บ้าน 12,363 ครัวเรือน ประชากร 18,490 คน ต.บางแก้ว หมู่ที่ 6, 7, 8, 10, 13, 14 จำนวน 17,188 ครัวเรือน 23,277 คน และ ต.บางโฉลง หมู่ที่ 4-5 จำนวน 4,177 ครัวเรือน ประชากร 4,413 คน อย่างไรก็ตามเนื่องจากเหตุการณ์ยังไม่สิ้นสุด อาจมีจำนวนผู้ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นอีก (ThaiPBS, 6 กรกฎาคม 2564)

 

ผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน

    ประเด็นด้านผังเมืองเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในโลกออนไลน์ ว่าโรงงานที่มีสารเคมีในครอบครองผิดหรือไม่ที่มาตั้งอยู่ในพื้นที่สีผังเมืองสีแดง ผังเมืองรวมสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

พ.ศ. 2532 มีการก่อสร้างโรงงานหมิงตี้ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนจะมีสนามบินสุวรรณภูมิ พื้นที่ในย่านดังกล่าวเป็นย่านเกษตรกรรม มีบ้านเรือนและประชากรในพื้นที่น้อย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโรงงานจึงไม่มีมากนัก

พ.ศ.2537ผังเมืองรวมสมุทรปราการฉบับแรกออกมาบังคับใช้  บริเวณที่ตั้งของโรงงานเป็นพื้นที่สีแดง จนมาถึงผังเมืองรวมสมุทรปราการ  พ.ศ.2544 และผังปัจจุบัน พ.ศ.2556 ระบุเป็นพื้นที่สีแดง พื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีเป้าหมายเพื่อรองรับโกดังสินค้าและกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางอากาศ

จะเห็นว่าโรงงานตั้งอยู่มาก่อนที่กฎหมายผังเมืองจะบังคับใช้ให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สีแดง พื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก จึงถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ทั้งนี้หากต้องการให้โรงงานที่ตั้งอยู่แล้วย้ายออกก็มีข้อกฎหมายผังเมืองที่รองรับ แต่มีผลกระทบต่อคนในพื้นที่ เนื่องจากผู้ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนารูปแบบใหม่ ซึ่งก็ไม่มีคนอยากจ่าย  โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พนิต ภู่จินดา หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ นายกสมาคมนักผังเมืองไทย โพสต์เฟซบุ๊กต่อประเด็นกฎหมายผังเมืองและเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว โดยอ้างอิงถึง พรบ.ผังเมือง 2518 จนมาถึง พรบ.ผังเมือง 2562 มีมาตราที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ผังเมืองกับกิจการที่มีมาก่อนมีผังเมืองรวมบังคับใช้มาโดยตลอด ในมาตรา 37โดย มี 4 วรรค ตามภาพ

ดร.พนิต  ชำแหละ  ผังเมือง กับ เหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว - สมุทรปราการ

วรรคหนึ่ง ถ้ามีผังเมืองรวมแล้ว ห้ามใช้ผิดจากที่กำหนดไว้ในผังเมือง

วรรคสอง แต่ถ้าอยู่มาก่อนมีผังเมืองรวมก็อยู่ต่อไปได้ เว้นแต่ขัดต่อนโยบายของผังเมืองรวมในสาระสำคัญ  ถ้าขัดแย้ง บรรทัดต่อมาก็กำหนดว่าคณะกรรมการผังเมืองสามารถสั่งให้แก้ไข ปรับปรุงในเวลาที่กำหนด หรือไปจนถึงการระงับการใช้งานได้เลย

วรรคสาม แต่ถ้าสั่งให้แก้ไข ปรับปรุง หรือระงับการใช้งานตามวรรคสอง ก็ต้องมีการชดเชย เพราะเขาอยู่มาก่อน ตอนที่เขาเริ่มตั้งกิจการเขามาอย่างชอบธรรม ต่อมาเมืองขยายไปแล้วกลายเป็นเขาไม่ชอบธรรมก็ไม่ใช่ความผิดของเขา ก็ต้องมีค่าตอบแทนให้เขาอย่างเป็นธรรม

ตัวอย่าง คือ ถ้ามีโรงงานผลิตวัตถุระเบิดไปตั้งห่างไกลความเจริญ ถ้าเกิดระเบิดจะได้ไม่กระทบกับชุมชนเมือง แต่ต่อมาเมืองขยายไปจนล้อมโรงงาน แน่นอนว่าโรงงานผลิตวัตถุระเบิดอยู่ต่อไปไม่ได้ อันตรายเกิน แต่ไม่ใช่ความผิดของโรงงาน จะให้เขาปรับปรุงหรือย้ายออกไป ก็ต้องหาเงินมาชดเชยเขา เพราะเขาไม่ได้ทำอะไรผิดมาตั้งแต่แรก

เอากฎหมายมาวิเคราะห์กับโรงงานหมิงตี้

- โรงงานโฟม ขัดกับผังเมืองสมุทรปราการในสาระสำคัญแน่นอน เพราะพื้นที่นี้มีเป้าหมายเป็นบรรจุภัณฑ์และคลังสินค้า ไม่ใช่โรงงานโฟมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติสูง

-โรงงานนี้อยู่มาก่อนมีผังเมืองรวมสมุทรปราการ จึงต้องใช้อำนาจของคณะกรรมการผังเมืองในการสั่งให้แก้ไข ปรับปรุง หรือระงับตามวรรคสอง

- แต่ก็ไม่ได้มีการสั่งให้แก้ไข ปรับปรุง หรือระงับ ไม่ใช่แค่โรงงานนี้ แต่ไม่เคยสั่งแบบนี้กับกิจการใด ๆ เลย 

- เหตุที่ไม่เคยสั่งให้แก้ไข ปรับปรุง หรือระงับการใช้งาน เพราะต้องชดเชยต่อเจ้าของกิจการ แต่ไม่มีการตั้งองค์กรหรือกลไกในการชดเชยเลย แล้วจะเอาเงินจากไหนมาชดเชย

- เงินชดเชยควรมาจากไหน ตรงไปตรงมา ก็คือจากเจ้าของที่ดินโดยรอบ ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนารูปแบบใหม่ ซึ่งขัดแย้งกับโรงงานที่เขาเคยอยู่อย่างถูกกฎหมายมาก่อน การพัฒนาใหม่ไปทำให้เขากลายเป็นผิด คนที่ได้ประโยชน์ก็ต้องชดเชยให้คนที่เขาเสียประโยชน์เป็นธรรมดา

- ถ้ากรมโยธาธิการจะขอเก็บค่าชดเชยจากเจ้าของที่ดินโดยรอบ ที่ได้เปลี่ยนจากไร่นา มาเป็นชุมชน เป็นโรงงานบรรจุภัณฑ์และคลังสินค้า เพื่อชดเชยให้กับโรงงานโฟมที่อยู่มาก่อน คุณว่าเจ้าของที่ดินโดยรอบจะยอมไหมล่ะ

สรุปความตรงไปตรงมาว่า

มีกฎหมายผังเมืองที่จะสั่งระงับหรือแก้ไขกิจการที่อยู่มาก่อน แต่ปัจจุบันเป็นอันตรายต่อพื้นที่โดยรอบได้ แต่ไม่มีใครใช้ เพราะไม่มีคนที่ได้ประโยชน์ยอมจ่ายค่าชดเชย รัฐเองก็ไม่กล้ามาเรียกเก็บจากคนได้ประโยชน์เพราะไม่อยากจะโดนด่า พอมีปัญหาขึ้นมาก็โทษผังเมืองว่าไม่ทำตามกฎหมาย

คุณนักผังเมืองไปต่อสู้ปกป้องโลก บอกว่าเป็นหน้าที่ มีดาบให้นะ (คือกฎหมายผังเมือง) แต่มันเป็นดาบไม้สำหรับเล่นลิเก มันไม่ใช่ดาบเหล็กน้ำพี้เพื่อปกป้องโลกได้ พอแพ้เขากลับมา ก็บอกว่าผังเมืองห่วย แต่ไม่เคยย้อนไปดูว่า คุณให้อาวุธที่สมบูรณ์กับเราหรือเปล่า

 

ที่มา: 

https://www.feasyonline.com/viewkingkaew

https://www.springnews.co.th/spring-life/811844

https://news.thaipbs.or.th/content/305834

https://www.thansettakij.com/general-news/486644

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/viewkingkaew

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม สูตรการคำนวณ พ

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนขบวน (Interchange Station) ที่ขยายเส้นทางเดินขบวนมาจากสถานีบางซื่อ

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล Floor-to-c