ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การประเมินค่าทรัพย์สิน ทำอย่างไร นักพัฒนาอสังหาฯ และเจ้าของที่ดินต้องรู้

 


การกำหนด มูลค่าตลาด (Matket Value) ของทรัพย์สินนั้นต้องอาศัยวิธีการประเมินค่าทรัพย์สินที่ต่างกัน ขึ้นอยู่ กับรูปแบบของทรัพย์สิน และวัตถุประสงค์ของการประเมิน โดยมีวิธีการประเมินหลักๆ 6 วิธีดังนี้

  1. วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)
  2. วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)
  3. วิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)
  4. วิธีวิเคราะห์กระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Analysis)
  5. วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach)
  6. วิธีการประเมินโดยสร้างแบบจำลองทางสถิติ (Modelling for Mass Appraisal)
    หรือ นำวิธีต่าง ๆ ข้างต้นมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อความเหมาะสม

1. วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)

วิธีการประเมิน:

หลักการสำคัญของวิธีนี้คือ
 มูลค่า = ต้นทุนในการหาสิ่งอื่นที่เทียบเคียงมาทดแทน 
โดยวิธีการประเมิน คือ การประมาณการต้นทุนในการสร้างอาคารทดแทนตามราคาปัจจุบัน (Present Value) แล้วหักลบด้วยค่าเสื่อมราคา (ถ้ามี) บวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน ก็จะได้มูลค่าของทรัพย์สินนั้น

เหมาะกับ:
การประเมินอาคารประเภทโรงงาน และอาคารที่สร้างขึ้นเฉพาะ หาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นมาเทียบเคียงได้ยาก รวมทั้งการทำประกันอัคคีภัยเพราะต้องสร้างอาคารใหม่มาแทนที่

ตัวอย่าง:
ประเมินค่าโรงงานอายุ 10 ปีด้วยวิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน ถ้าจะต้องสร้างอาคารใหม่ในปัจจุบันจะต้องใช้เงิน 10 ล้านบาท หักค่าเสื่อม 20% (ปีละ 2% 10 ปี) ทำให้มูลค่าอาคารเหลือ 8 ล้านบาท เมื่อบวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน 10 ล้านบาท ก็เท่ากับว่ามูลค่าของที่ดินพร้อมโรงงานนี้คือ 18 ล้านบาท

2. วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)

วิธีการประเมิน:

หลักการสำคัญของวิธีนี้คือ
มูลค่า = ราคาของทรัพย์สินเทียบเคียงที่คนอื่นขายได้
วิธีการประเมินนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้ที่สุดในการหามูลค่าตลาด (Market Value) ของทรัพย์สิน โดยวิธีการประเมิน คือ การหาทรัพย์สินที่มีลักษณะใกล้เคียง ในทำเลใกล้เคียง ที่มีการซื้อขายกัน มาวิเคราะห์เปรียบเทียบภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น คุณภาพอาคาร และขนาดที่ดิน เพื่อสรุปหามูลค่าของทรัพย์สินที่ประเมิน
ในการประเมินมูลค่าด้วยวิธีนี้ จะต้องให้ความสำคัญต่อการหาทรัพย์สินเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพราะ อาจมีการสร้างหลักฐานซื้อขายเท็จว่าบ้านทำในทำเลใกล้เคียงขายได้ในราคาสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้มูลค่าทรัพย์สินที่ได้มาจากการประเมินคลาดเคลื่อนได้ ผู้ประเมินจึงต้องหาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบมาประกอบการวิเคราะห์

เหมาะกับ:
การประเมินหามูลค่าตลาดสำหรับการซื้อ-ขาย และ การขอสินเชื่อ เป็นต้น

ตัวอย่าง:
ประเมินมูลค่าบ้านในโครงการจัดสรร 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำขนาด 130 ตร.ม. บนที่ดินขนาด 50 ตร.วา จะต้องหาข้อมูลการซื้อขายบ้านจัดสรรในทำเลใกล้เคียง ที่มีขนาดอาคาร จำนวนห้องนอน-ห้องน้ำ และขนาดที่ดินที่ใกล้เคียงกันประมาณ 5 แปลงมาวิเคราะห์เปรียบเทียบตลาดด้วยการเฉลี่ยเชิงคุณภาพหรือแบบถ่วงน้ำหนัก (WQS: Weight Quality Score) เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม

3. วิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)

วิธีการประเมิน:

มูลค่าวันนี้ = ผลรวมของรายได้สุทธิที่จะได้ในอนาคตจนสิ้นอายุขัย
การประเมินมูลค่าด้วยวิธีผลตอบแทนทางตรง (Direct Capitalization) เหมาะสำหรับทรัพย์สินที่สร้างรายได้ ยิ่งสร้างรายได้มาก มูลค่าของทรัพย์สินก็ยิ่งสูงขึ้น โดยมีวิธีการประเมิน ดังนี้
1. ประมาณการรายได้โดยพิจารณาจาก รายได้จริงที่ผ่านมาของทรัพย์สิน และการเปรียบเทียบตลาด
2. หักสัดส่วนการไม่ได้ใช่ประโยชน์ออก เช่น อัตราการเข้าพัก (Occupancy rate)
3. หักต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น ค่าบริหาร ภาษีอากร ประกัน ค่าบำรุงรักษา เป็นต้น เพื่อให้ได้รายได้สุทธิ
4. คำนวณหาผลรวมของรายได้สุทธิที่จะได้ในอนาคตจนสิ้นสุดอายุขัย โดยนำรายได้สุทธิมาเข้าสูตร
   V = I / R โดยที่ V คือ มูลค่าทรัพย์สิน, I คือ รายได้สุทธิ และ R คืออัตราผลตอบแทน
อัตราผลตอบแทน มักใช้อัตราขั้นต่ำที่เงินจะเติบโตโดยที่เงินทำงานให้เรา เช่น อัตราเงินฝากของสถาบันการเงิน หรือ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้เราไม่ประเมินมูลค่าไว้สูงเกินความเป็นจริงมากเกินไป


เหมาะกับ:
การประเมินค่าทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น อะพาร์ตเมนต์ หอพัก  หรือ เซอร์วิสอะพาร์ตเมนต์

ตัวอย่าง:
ประเมินมูลค่าอะพาร์ตเมนต์ 100 ห้องพัก ที่มีอัตราค่าเช่า 3,000 บาท/ห้อง/เดือน เท่ากับว่าจะมีรายได้ 3,600,000 บาท/ปี เมื่อหักสัดส่วนการไม่ได้ใช่ประโยชน์ออก คือ มีอัตราการเข้าพัก (Occupancy rate) 80% เท่ากับว่ามีรายได้จริง 2,880,000 บาท/ปี และหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายออกอีกประมาณ 30% ของรายได้จริง เหลือรายได้สุทธิเท่ากับ 2,016,000 บาท/ปี เมื่อคำนวณหามูลค่าด้วยสูตร V = I/R ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 5% ต่อปี มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินได้คือ 40,320,000 บาท

  1. วิธีวิเคราะห์กระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Analysis)


วิธีการประเมิน:

วิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินมูลค่าด้วยวิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach) โดยที่รายได้และค่าใช้จ่ายของทรัพย์สินในอนาคตอาจเปลี่นแปลงขึ้น-ลงตามภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ หรือ เศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถใช้สูตร V = I/R ด้วยการแทนค่ารายได้รวมสุทธิจากการคูณรายได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น


เหมาะกับ:
การประเมินค่าทรัพย์สินที่รายได้-รายจ่ายผันผวนตามตลาดเศรษฐกิจ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน (Feasibility Study) สำหรับวางแผนพัฒนาคอนโดมิเนียม หรือ การประเมินค่าโรงแรม เป็นต้น

  1. วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach)

    วิธีการประเมิน:

 มูลค่าที่ดิน = มูลค่าโครงการ – ต้นทุนค่าก่อสร้าง – ต้นทุนอื่น ๆ 

วิธีนี้เป็นการประเมินค่าโดยสมมุติการพัฒนาที่เปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด (Highest and Best Use) ตามภาวะตลาดขณะนั้น โดยมีวิธีการประเมินคือ หามูลค่าโครงการที่เกิดจากการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดีีที่สุด แล้วหักค่าใช้จ่ายต้นทุนค่าก่อสร้าง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เหมาะกับ:
การประเมินค่าที่ดินเปล่า หรือ การพัฒนาโครงการใหม่บนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดีที่สุด

ตัวอย่าง:

การประเมินที่ดินขนาด 200 ตร.วา มีหน้ากว้าง 40 เมตร ลึก 20 เมตร เหมาะจะพัฒนาอาคารพานิชย์ขนาด 20 ตร.วา หน้ากว้าง 4 เมตรจำนวน 10 หน่วยเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด และขายในราคา 5 ล้านบาท/หน่วย เท่ากับว่า มูลค่าโครงการเท่ากับ 50 ล้านบาท ( อาคารพานิชย์ 5 หลัง x 10 ล้านบาท/หน่วย) หักต้นทุนค่าก่อสร้างอาคารละ 1 ล้านบาท รวม 10 ล้านบาท และหักต้นทุนค่าดำเนินการ 30% ของมูลค่าโครงการ เท่ากับ 15 ล้านบาท
มูลค่าที่ดิน = 50 – 10 -15 ล้านบาท
มูลค่าที่ดิน = 25 ล้านบาท หรือ 125,000 บาท/ตร.วา

  1. วิธีการประเมินโดยสร้างแบบจำลองทางสถิติ (Modeling for Mass Appraisal)

CAMA เป็นแขนงหนึ่งของการประเมินโดยวิธีเปรียบเทียบตลาด โดยใช้การสร้างแบบจำลองทางสถิติแบบ MRA (multiple regression analysis) มาช่วย ทั้งนี้ใช้มากในการประเมินเพื่อการเวนคืน จัดรูปที่ดิน โดยใช้ประเมินทรัพย์สินนับร้อยนับพันแปลงที่ตั้งอยู่ติดกัน โดยต้องวิเคราะห์ให้เห็นว่ามูลค่าขึ้นอยู่กับตัวแปรอะไร เช่น ในการประเมินมูลค่าที่ดิน ตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้แก่ หน้ากว้าง ขนาด การถมที่ ฯลฯ แล้วจึงนำค่าตัวแปรเหล่านี้ มาทำการวิเคราะห์โดยการสร้างแบบจำลองขึ้น บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เป็นผู้ใช้วิธีนี้ครั้งแรกในประเทศไทยในการศึกษาเพื่อการจัดรูปที่ดิน ตั้งแต่ปี 2533

  1. การนำวิธีต่าง ๆ ข้างต้นมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อความเหมาะสม
    ในหลายกรณี จะต้องอาศัยการประเมินหลายวิธีจึงจะประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราใช้วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach) แล้วพบว่าควรจะพัฒนาอาคารพานิชย์บนที่ดินดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด เราจะต้องใช้ วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach) เพื่อประเมินค่าอาคารพานิชย์ว่าควรจะตั้งราคาขายเท่าไหร่จึงจะสอดคล้องกับสภาวะตลาดในพื้นที่นั้น ๆ จากนั้นเราจึงจะคำนวณมูลค่าของที่ดินขึ้นมาได้ หากเราตั้งราคาอาคารพานิชย์สูงหรือต่ำเกินไปก็จะทำให้เราประเมินมูลค่าที่ดินออกมาคลาดเคลื่อนไป โดยเฉพาะในกรณีที่ทรัพย์สินมีมูลค่าสูง หรือ ซับซ้อนมาก อาจต้องใช้หลายวิธีมาประเมิน และต้องอาศัยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของผู้ประเมินในการพิจารณาสรุปความเห็นต่อมูลค่าทรัพย์สินที่สมควร

หากคุณต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สิน FEASY แนะนำให้เรียนหลักสูตรจากโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (TREBS) ได้แก่

หลักสูตร การประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ สัมฤทธิ์ผลใน 4 วัน (AP100)

หลักสูตรการประเมินค่าทรัพย์สินมืออาชีพ|ประกาศนียบัตร|รู้จริง 14 สัปดาห์ (AP101)

AP130: เจาะลึก การประเมินมูลค่าด้วยวิธีรายได้ (Income Approach)
* สำหรับสมาชิก FEASY แพคเกจ Premium และ Team รับส่วนลดพิเศษ 10%
 


สนใจรับการประเมินค่าทรัพย์สิน สามารถส่งข้อมูลเพื่อรับการปรึกษาได้ที่นี่
 

ประเมินค่าทรัพย์สิน

ที่ดิน

นักพัฒนาอสังหาฯ

ที่มา:https://www.feasyonline.com/content/detail/1171

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  ...

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านส...

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล F...