ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กู้เงินซื้อบ้านมือสอง สินเชื่อแบงก์ไหนดอกเบี้ยบ้านถูกสุด อัพเดทปี 2564

 



 | แชร์บทความนี้


สำหรับใครที่กำลังถูกใจบ้านมือสองสักหลัง แล้วอยากกู้ซื้อบ้าน? ขอสินเชื่อบ้านมือสอง ธนาคารไหนดี ถึงจะได้ดอกเบี้ยบ้านต่ำที่สุด ใครอยากรู้ Tooktee.com รวบรวมข้อมูลมาเปรียบเทียบให้แล้ว
 

อยากซื่อบ้านมือสอง โดยเฉพาะซื้อไว้เพื่ออยู่อาศัยเอง การซื้อบ้านโดยตรงจากคนขาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้านขายเอง หรือขายผ่านนายหน้า ถือว่าเป็นทางเลือกแรกๆ ที่ช่วยให้เราได้บ้านที่ถูกใจทั้งทำเล สภาพแวดล้อม แถมยังมีโอกาสได้บ้านไม่ทรุดโทรมมากนัก และสามารถต่อรองราคา ปัจจุบันการซื้อบ้านมือสองมีช่องทางในการค้นหาและติดต่อผู้ขายที่สะดวกมากขึ้น เมื่อราคาตกลงที่จะซื้อบ้านมือสองแล้ว ขั้นต่อไปก็ต้องมองหาสินเชื่อบ้านที่คิดดอกเบี้ยต่ำสักหน่อย จะได้ช่วยเติมฝันที่อยากมีบ้านให้เป็นจริงเร็วขึ้น เพราะยิ่งดอกเบี้ยถูกก็ยิ่งลดภาระให้เราผ่อนบ้านได้แบบสบาย ๆ แล้วช่วงนี้หลายธนาคารก็มีโปรโมชั่นสินเชื่อบ้านออกมาให้เลือกมากมายเลยด้วย สินเชื่อบ้านที่ไหนดี ไปดูกันเลยเราได้อัพเดท สินเชื่อบ้าน 2563 ไว้ให้แล้ว 


ตารางอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านมือสอง ของธนาคารพาณิชย์ 

ธนาคาร ดอกเบี้ยบ้านต่ำสุดเฉลี่ย 1-3 ปีแรก    อัตราดอกเบี้ย
1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์  
(ธอส.)                
 

ดอกเบี้ยบ้าน
ปีที่ 1-2 = 2.00%
ปีที่ 3-4 = 3.10%
สินเชื่อบ้านโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัย Two-Gen 2564
ยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2564วงเงินกำหนดวงเงินให้กู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2,000,000 บาทไม่น้อยกว่า 10 ปี และสามารถขอกู้เกิน 40 ปีได้ โดยอายุของบุตรที่กู้ร่วมเมื่อรวมกับระยะเวลากู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ดูอัตรา MRR ปัจจุบันได้ ที่นี
2.ธนาคารธนชาต

 
ดอกเบี้ยบ้าน 
เฉลี่ย 3 ปี
3.20 %
สมัครผลิตภัณฑ์เสริม
สินเชื่อบ้านมือสอง ธนชาต
ที่ให้คุณซื้อบ้านมือสอง ด้วยอัตราดอกเบี้ย
พิเศษ วงเงินสูงและระยะเวลาผ่อนชำระนานวงเงินอนุมัติสูงสุด 100% ของราคาประเมิน
หรือราคาซื้อขาย แล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า
กรณีราคา ซื้อขายที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 10 ล้านบาท
ขึ้นไปให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขายที่ตกลงกันจริงตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยระยะไม่เกิน 30 ปี**กลุ่มลูกค้าที่ซื้อหลักประกันบ้านมือสองของ
โครงการที่พัฒนาโดยบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ในกลุ่ม Top Selective หรือ Selective Developersดูอัตรา MRR ปัจจุบันได้ ที่นี่

3.ธนาคารยูโอบี
(UOB) 




 
ดอกเบี้ยบ้าน 
เฉลี่ย 2 ปี 
3.55 %
สมัครผลิตภัณฑ์เสริม
 

สินเชื่อบ้านมือสอง ยูโอบี
กรณีซื้อบ้านมือสอง วงเงินกู้สูงสุด 95-100%
ของราคาประเมิน และ 80-90% สำหรับต่างจังหวัด
(กรณีคอนโดมิเนียมวงเงินกู้สูงสุด 95-100%
ของราคาประเมิน และ 75-90% สำหรับต่างจังหวัด)
ผ่อนชำระนานสูงสุด 30 ปี 

ดูอัตรา MRR ปัจจุบันได้ ที่นี่
4.ธนาคารกรุงศรี
ดอกเบี้ยบ้าน 
เฉลี่ย 3 ปี
3.82 %
สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 
สินเชื่อบ้านมือสอง กรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
(บ้านใหม่หรือบ้านมือสอง) สำหรับโครงการทั่วไป

ได้วงเงินกู้สูงสุด 90% ของราคาประเมิน
สบายๆ กับการผ่อนชำระนานสูงสุด 30 ปี 
(ระยะเวลาการผ่อนชำระเมื่อรวมกับ
อายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 65 ปี)
ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 63 – 31 มี.ค. 64

ดูอัตรา MRR ปัจจุบันได้ ที่นี่

5.ธนาคารกสิกรไทย
ดอกเบี้ยบ้าน 
เฉลี่ย 3 ปี
4.19%

สินเชื่อบ้าน ธนาคารกสิกรไทย
วงเงินกู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาซื้อขาย
และไม่เกิน 100 % ของราคาประเมินหลักประกัน
ระยะเวลาผ่อน สูงสุด 30 ปี
ประเภทหลักทรัพย์ที่รองรับบ้านเดี่ยวทาวน์เฮ้าส์อาคารพาณิชย์ห้องชุดที่ดินพร้อมปลูกสร้างบ้านต่อเติมที่อยู่อาศัยดูอัตรา MRR ปัจจุบันได้ ที่นี่

6.ธนาคารทหารไทย
ดอกเบี้ยบ้าน
เฉลีย 3 ปี
5.47 %
สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 
 
สินเชื่อบ้าน ธนาคารทหารไทย

อัตราดอกเบี้ยให้กับบ้านมือสองโดยเฉพาะ
กับวงเงินกู้ สูงสุด 95% ผ่อนชำระนานสูงสุด
ถึง 35 ปี เมื่อรวมกับ อายุผู้กู้เเล้วไม่เกิน 65 ปี นอกจากนี้ยังอนุมัติง่ายและ เร็วอีกด้วย
เเต่เป็นเงื่อนไขสำหรับลูกค้า
ที่สมัครผลิตภัณฑ์เพิ่ม 3 ประเภทของธนาคาร

ดูอัตรา MRR ปัจจุบันได้ ที่นี่

ดอกเบี้ยเงินกู้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) โดยอัตราดอกเบี้ยจะถูกกำหนดไว้เป็นตัวเลขเฉพาะ ไม่มีการขยับขึ้นหรือลดลง ทุกอย่างจะคงที่ตลอดสัญญาอายุเงินกู้หรือในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว
    เช่น สมมติว่า ดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เราต้องผ่อนทั้งหมด 10 ปี เท่ากับว่า เราต้องผ่อนที่ 5% ตลอดระยะเวลา 10 ปี
  2.  อัตราเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) ดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการลงทุนของสถาบันการเงินหรือผู้ให้กู้ ซึ่งผู้ให้กู้จะประกาศออกมาเป็นระยะซึ่ง MLR และ MRR ถูกจัดอยู่ในประเภทอัตราเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) แบบที่ 2 
  • MLR ย่อมาจาก Minimum Loan Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจาก “ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี” เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ ส่วนใหญ่ใช้กับ “เงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน”
  • MRR ย่อมาจาก Minimum Retail Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจาก “ลูกค้ารายย่อยชั้นดี” 

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านมือสอง

               การซื้อบ้านมือสอง ด้วยวิธีซื้อโดยตรงจากคนขายนั้น มีหลายๆ ประเด็นที่เราควรทราบก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งได้แก่

               • การตรวจสอบโฉนด ว่ามีสถานะเป็นอย่างไร ปลอดภาระหรือติดจำนองอยู่ และที่สำคัญควรตรวจเช็กว่าผู้ขายเป็นเจ้าของจริงๆ หรือไม่ เพื่อป้องกันการถูกหลอก โดยก่อนจ่ายเงินมัดจำและทำสัญญาจะซื้อจะขาย ผู้ซื้อควรตรวจสอบโฉนดที่ผู้ขายนำมาให้ หากโฉนดเป็นสำเนาควรดูว่า ได้มีการรับรองจากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินหรือไม่และระบุวันที่รับรองตั้งแต่เมื่อไหร่ ทั้งนี้การคัดสำเนาโฉนดเจ้าของโฉนดซึ่งก็คือผู้ขายสามารถไปดำเนินการเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปแทนก็ได้ โฉนดที่ขอคัดจากสำนักงานที่ดินจะมีเจ้าหน้าที่ลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมระบุวันที่รับรองไว้ในสำเนาโฉนดฉบับนั้น หรืออีกวิธีในการตรวจสอบโฉนดในกรณีที่ยื่นกู้ซื้อบ้านคือการส่งประเมินราคากับธนาคารก็ได้

  • เปิดรับสมัครนายหน้าอิสระ ตัวแทนขายอสังหาฯ “ใครๆ ก็ขายได้ รับผลตอบแทน 3-12%” ขายทรัพย์ออนไลน์ 24 ชม. ง่าย ๆ เพียงหาลูกค้ามาซื้อโครงการ ในงาน Open house พร้อมบรรยายหัวข้อ “นายหน้าอสังหาฯ เงินล้าน”
  • ลงทะเบียนฟรี

               • การเตรียมเงินส่วนต่างให้พร้อม เพราะราคาบ้านมือสองอาจมีราคาสูงจากการตกแต่งบ้านให้พร้อมเข้าอยู่ หรือทำเลดี และเนื่องจากการกู้ซื้อบ้านมือสองโดยทั่วไปธนาคารจะให้วงเงินกู้ไม่เกิน 80% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย(เลือกที่ต่ำกว่า) เท่ากับว่าผู้ซื้อจะต้องเตรียมเงินก้อนไปจ่ายให้กับผู้ขายในวันโอนบ้านอยู่ที่ประมาณ 20% ของราคาซื้อขาย ซึ่งต่างจากการซื้อบ้านมือหนึ่งกับโครงการที่สามารถผ่อนดาวน์ไปได้เรื่อยๆ ก่อนการยื่นกู้จริง 

               • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนี้

          o ค่าใช้จ่ายการซื้อ ได้แก่?

               – ค่าจำนอง 1% ของวงเงินกู้ (ในกรณีที่กู้เงิน)

          o ค่าใช้จ่ายการขาย ได้แก่

               – ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยใช้ราคาบ้านจากราค?าประเมินของสำนักงานที่ดิน หักด้วยค่าใช้จ่ายตามที่กรมสรรพากรกำหนด แล้วนำมาคำนวณด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่ยกเว้นเงินได้ 150,000 บาทแร?ก

               – ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินสำนักงานที่ดิน (เลือกราคาที่สูงกว่า) แต่ทั้งนี้หากถือครองบ้านเกิน 5 ปี(ดูวันที่หลังโฉนด) หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หรือบ้านที่ขายได้รับมรดกมา ก็จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

               – ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาขายหรือราคาประเมินสำนักงานที่ดิน (เลือกราคาที่สูงกว่า) โดยจะเสียค่าอากรแสตมป์ในกรณีที่ไม่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ??

***นอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมโอน 2% ของราคาประเมินสำนักงานที่ดิน ซึ่งเกิดขึ้นจากการซื้อขาย โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่ที่ตกลงกันว่าจะจ่ายกันอย่างไร เช่น ผู้ซื้อผู้ขายแบ่งจ่ายคนละครึ่ง เป็นต้น

สอบถามผ่าน Line : http://line.me/ti/p/~@tooktee หรือ โทรศัพท์ : 0-2295-3905 ต่อ 125 



บ้านมือสอง

สินเชื่อบ้าน

ดอกเบี้ยบ้าน

สินเชื่อบ้านมือสอง

ที่มา https://www.tooktee.com/article/?cid=2031

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม สูตรการคำนวณ พ

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนขบวน (Interchange Station) ที่ขยายเส้นทางเดินขบวนมาจากสถานีบางซื่อ

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล Floor-to-c