ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Capital Gain คืออะไร? นักลงทุนอสังหาฯ ต้องรู้!

 

Capital Gain คือ กำไรจากส่วนต่างราคา เมื่อเราซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ในราคาสูงขึ้น เราจะได้รับกำไรจากส่วนต่างราคานี้ นักลงทุนอสังหาฯ มักจะสนใจผลตอบแทน 2 ส่วน คือ อัตราผลตอบแทนจากการเช่า (Rental Yield) ซึ่งจะทยอยได้รับระหว่างที่เราเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ และ กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) ที่จะได้รับเมื่อเราขายอสังหาริมทรัพย์นั้นไปแล้ว ในอสังหาริมทรัพย์บางประเภทเราอาจไม่คาดหวังผลตอบแทนจากการเช่ามากนัก แต่คาดว่าจะได้กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) ในวันที่ขายมากเป็นพิเศษ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อที่ดินขนาด 2 ไร่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มาเมื่อ 19 ปีที่แล้วนำมาขายในปัจจุบัน เราจะได้กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) สูงมาก จากข้อมูลของ บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ราคาที่ดิน ในกรุงเทพมหานครมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 158.2% ในรอบ 19 ปี (พ.ศ. 2541-2561) หรือเติบโตปีละ 8.32% หมายความว่าถ้าเราซื้อที่ดินมาในราคา 200,000 บาทต่อตารางวา หรือ 160 ล้านบาท เมื่อ 19 ปีที่แล้วปัจจุบันอาจมีมูลค่าสูงถึง 310,640 บาทต่อตารางวา หรือ 248.5 ล้านบาท ได้กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) มากถึง 88.5 ล้านบาทเลยทีเดียว! เรียกได้ว่าไม่ต้องปล่อยเช่าเลยก็ได้กำไรมาก ๆ แต่ปัจจุบันจะไม่ปล่อยเช่าเลยไม่ได้แล้วเพราะคุณจะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อปีในอัตราที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้นจึงมีเศรษฐีที่ดินหลายรายปลูกผักบนพื้นที่โบว์แดงเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีราคาแพงนั่นเอง หากคุณอยากรู้ว่าคุณต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่าไหร่ คลิก
คำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออนไลน์ ที่นี่

อย่างไรก็ตาม ฝนตกไม่ทั่วฟ้า ราคาที่ดินในแต่ละพื้นที่ต่างกัน และมีอัตราการเติบโตไม่เท่ากัน บางพื้นที่นอกจากที่ดินจะราคาต่ำแล้วราคาก็แทบจะไม่เติบโตเลย เช่น ที่ดินในพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาต่ำ พื้นที่ผังเมืองสีเขียว ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ซึ่งมีข้อจำกัดการพัฒนามาก เป็นต้น หากคุณต้องการตรวจสอบราคาตลาดที่ดิน มูลค่าที่ดินในแต่ละทำเลรอบกรุงเทพมหานครและปริมนฑล รวมทั้งเมืองสำคัญต่าง ๆ อ่านเพิ่มเติมที่นี่

      เนื่องจากเราไม่อาจฟันธงได้ว่าอสังหาริมทรัพย์ที่เราถือไว้ในมือ จะทำกำไรในอนาคตได้มากแค่ไหน เราจึงต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงเอาไว้ด้วย เผื่อใจไว้บ้างว่าอาจจะไม่ได้กำไรมากนัก จะได้ไม่ลงทุนสูงเกินไปในการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นมา ด้วยการทำ Scenario Analysis หรือ Sensitivity Analysis อย่างง่าย ๆ เช่น ลองตั้งสมมุติฐานว่ามีความเป็นไปได้ 3 อย่างในอนาคต คือ

1. Worst case กรณีแย่ที่สุดราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่เพิ่มขึ้นเลย (เติบโต 0%ต่อปี)

2. Base case กรณีที่เป็นไปได้สูง คือ ราคาเพิ่มขึ้น 1.5% ต่อปี (ปรับตัวเลขตามประเภทอสังหา เช่น ที่ดินบางทำเลราคาอาจเพิ่มขึ้นมาก ส่วนคอนโดนั้นมีค่าเสื่อมราคาอาจเพิ่มขึ้นไม่มากนัก)

3. Best Case กรณีที่ดีที่สุด คือ ราคาเพิ่มขึ้น 3% ต่อปี (ขึ้นอยู่กับประเภทอสังหาฯ)

      เมื่อตั้งสมมุติฐานเช่นนี้เราก็คิดได้แล้วว่า คอนโดที่เราซื้อมาในราคา 3 ล้านบาทแล้วต้องการขายในปีที่10 ปี ถ้า Worst case ราคามันอาจจะไม่เพิ่มขึ้นเลย เราจะได้รับผลตอบแทนทางอื่น เช่น ผลตอบแทนจากการเช่าที่ทำให้คุ้มค่าต่อการลงทุนไหม? ถ้าเป็น Base case ที่เราคิดว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุด เราจะขายคอนโดได้ในราคา 3.43 ล้านบาท เท่ากับว่าได้กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) 4.3 แสนบาท ส่วนในกรณี Best case เราจะขายคอนโดได้ในราคา 3.91 ล้านบาท เท่ากับว่าเราจะได้กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) 9.1 แสนบาทเลยทีเดียว

      จะเห็นได้ว่าอัตราการเติบโตของราคาที่ต่างกันเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital gain) ผันผวนไปได้มากทีเดียว หากในอนาคตเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือ เกิดการพัฒนารถไฟฟ้าในพื้นที่ของคุณ ก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ของคุณเติบโตต่ำ หรือ สูงต่างกันได้

      คุณสามารถใช้งาน FEASY ได้ฟรีเพื่อคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ว่าจะเป็น Rental Yield, Capital gain หรือดูความผันผวนผ่าน Scenario Analysis ได้ง่าย ๆ เพียงกรอกข้อมูลไม่กี่ข้อ FEASY โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จะประมวลผลข้อมูลของคุณด้วยโมเดลการคำนวณของเรา ประกอบกับข้อมูลตลาดอสังหาฯ เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมัครเพื่อใช้งานฟรี ได้ที่นี่

Keyword: Capital Gain, ลงทุนอสังหา, ผลตอบแทน

#ความรู้อสังหาฯ.#อสังหา 101#นักพัฒนาอสังหาฯ#ลงทุนอสังหาฯ#อัตราผลตอบแทน

เว็บไซต์ อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1139

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม สูตรการคำนวณ พ

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนขบวน (Interchange Station) ที่ขยายเส้นทางเดินขบวนมาจากสถานีบางซื่อ

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล Floor-to-c