ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิเคราะห์ 5 Re-strategy กลยุทธ์ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในยุคโควิด-19

 

        การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของดีมานด์การซื้ออสังหาฯ กำลังซื้อที่อาจลดลงเนื่องจากรายได้ของผู้คนไม่มั่นคงเหมือนเดิม ความไม่มั่นใจ ของลูกบ้านเดิมและว่าที่ลูกบ้านต่อความปลอดภัยของที่พักอาศัย และแนวทาง Social distancing ที่ทำให้คนหันไป Work From Home ทำงานที่บ้านกันมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันเหล่านี้ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต้องรีบปรับกลยุทธ์ Re-strategy กันภายในเวลาสั้น ๆ เพื่อตอบรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงระดับโลกนี้ Feasy พาคุณมาดูกันว่าแต่ละแบรนด์อสังหาฯ ต่าง ๆ มีกลยุทธ์การรับมือ กันอย่างไรบ้าง

กลยุทธ์อสังหาฯ รับโควิด
  1. ขายอสังหาฯ ออนไลน์ เมื่อคนเริ่มชอปปิ้งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น
            ก่อนจะมีโควิด-19 เราก็เห็นแบรนด์อสังหาฯ ปรับตัวเพิ่มช่องทางการทำการตลาดออนไลน์อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการชมบ้านแบบ 360 องศาผ่านเว็บไซต์ การจองบ้านออนไลน์ Online Booking ผ่านเว็บไซต์ของเจ้าของโครงการ และเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เช่น Shopee หรือ Lazada แต่ในยุคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันนี้ทำให้เกิด Digital disruption ในวงการอสังหาฯ ที่ทุกแบรนด์พร้อมใจกันขายอสังหาฯ ผ่านทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น FB Live, Line OA, Website, Tiktok และอื่น ๆ เรียกได้ว่าในยุคโควิด-19 ไปจนถึงหลังยุคนี้ ผู้บริโภคคงจะคุ้นชินกับการใช้เวลาเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ และลดเวลาในการไปดูโครงการที่หน้างานลง ตัวอย่างเช่น อนันดาฯ เปิดช่องทางการขายอสังหา 24 ชั่วโมงผ่าน “Ananda iStore” ด้วย 3 ช่องทางออนไลน์ได้แก่ เว็บไซต์ Facebook และ Line OA “Chat & Shop” หรือ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ที่เปิด Official Store บนแพลทฟอร์ม Shopeeและ Lazada
  1. เพิ่มความเชื่อมั่นของลูกบ้าน ด้วยการบริการที่ใส่ใจและได้มาตรฐาน
            การสร้าง Customer Loyalty หรือการมัดใจลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทุกธุรกิจ เพราะพวกเขาเป็นกระบอกเสียงที่จะแนะนำแบรนด์ต่อให้กับเพื่อนๆ หรือเป็นลูกค้าที่จะกลับมาซื้อสินค้าของบริษัทซ้ำอีกครั้ง แบรนด์อสังหาฯ ทั้งหลายจึงต้องดูแลลูกค้าให้ดี โดยเฉพาะลูกบ้านในที่อยู่อาศัยที่ดูมีความเสี่ยงสูง อย่างคอนโดมิเนียมที่เป็นสินค้าหลักในตลาดอสังหาฯ เพื่อรักษาความสัมพันธ์และสร้างความไว้วางใจให้กับลูกบ้าน แบรนด์อสังหาฯ ทั้งหลายจึงจัดทำมาตรการรักษาความสะอาดและความปลอดภัย ด้วยการการกำหนดเวลาในการใช้พื้นที่ส่วนกลาง การแจกหน้ากากอนามัย ตั้งจุดคัดกรอง และการวางเจลล้างมือให้บริการลูกบ้านภายในโครงการ รวมทั้งมาตรการพิเศษ เช่น แบรนด์เสนา เปิดแคมเปญ “Sena Zero Covid Hotline” สายด่วนพาลูกบ้านไปโรงพยาบาล สำหรับลูกบ้านที่มีไข้ หรือสงสัยว่ามีความเสี่ยงเพียงติดต่อนิติบุคคลของโครงการ หรือ แบรนด์ Ananda ที่ส่งมอบคอนโดปลอดเชื้อ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกบ้านใหม่ โดยใช้นวัตกรรม UVC Technology เทคโนโลยีฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต ครอบคลุมการฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 และแบคทีเรีย ที่ผ่านการทดสอบและรับรองจากหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ถึง 99.9% โดยนำร่องมาใช้กับ 7 โครงการพร้อมอยู่จำนวน 2,400 ยูนิตและทุกยูนิตที่พร้อมเข้าอยู่ในปีนี้
  1. กระหน่ำจัดโปรโมชั่น เร่งระบายสต็อกอสังหาฯ
            ดีมานด์ในการซื้ออสังหาฯ ช่วงโควิดลดลงอย่างมาก โดย“ดร.โสภณ พรโชคชัย” ประธานกรรมการ AREA-เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส คาดการณ์ว่าภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในปี 2563 น่าจะติดลบ 15-20% โดยดูอาการจากช่วง 2 เดือนแรกของปี (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563) จากเดิมที่มีการประเมินไว้เมื่อช่วงปลายปี 2562 ว่าธุรกิจอสังหาฯในปี้นี้น่าจะกลับมาบวกได้ 5-10% เท่ากับว่าโควิด-19 นี้ทำให้เกิดการผันผวนของตลาดอย่างมาก อีกทั้งยังมีอสังหาฯ ในสต๊อกที่รอการขายกันอยู่เยอะทำให้ผู้ประกอบการต้องจัดโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม เพื่อเร่งให้เกิดยอดโอน เช่น บมจ.อนันดา นำโครงการคอนโดมิเนียมทำเลพหลโยธิน 34 ออกแคมเปญผ่อนดาวน์ช่วยลูกค้าครึ่งหนึ่งของจำนวนค่างวด รวมทั้งจัดโปรโมชั่นผ่านการจองออนไลน์ เมื่อเพิ่มเป็นเพื่อนกับอนันดาฯ รับข้อเสนอพิเศษจองเริ่มต้น 999 บาท ส่วนลดสูงสุด 3.9 ล้านบาท เป็นต้น
    อีกทั้งเรายังได้เห็นธุรกิจอสังหาฯ สร้างโปรโมชั่นเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละราย อย่างค่ายเสนาออกโปรพิเศษ Personalizes promotion พร้อมดูแลลูกค้าทุกรูปแบบ เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้าและแบ่งเบาภาระทางการเงิน เพราะลูกค้าแต่ละรายมีปัญหาต่างกันผู้ประกอบการจึงพร้อมปรับมาตรการเพื่อช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ
    นอกจากโปรสำหรับลูกค้าใหม่แล้ว บางแบรนด์ยังออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าปัจจุบันอีกด้วย เช่น ศุภาลัยออกมาตรการพักชำระค่างวดผ่อนดาวน์ 3 เดือน (3 งวด) สำหรับลูกค้าในสายอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด เช่น ลูกค้าที่มีอาชีพในกลุ่มสายการบิน โรงแรม ฯลฯ โดยลูกค้าที่ขอรับสิทธิจะต้องอยู่ในระหว่างการผ่อนชำระเงินดาวน์กับบริษัทในโครงการศุภาลัยทั่วประเทศ
  1. ใช้ทรัพยากรคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
            ในยุคโควิด-19 หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง หลายหน้าที่การงานที่ไม่มีความจำเป็นในช่วงล็อกดาวน์ก็อาจโดนพักงาน ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ต้องปรับตัวมาใช้ทรัพย์กรคน พนักงานในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อพยุงองค์กร และรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรต่อไปได้ ดังนั้น พนักงานหนึ่งคนจึงไม่ได้มีหน้าที่เดียวอีกต่อไป อย่างเช่น แคมเปญ “Everyone can sell” ของแบรนด์ออริจิ้น ที่เปลี่ยนพนักงานเป็น Micro-Influencer ขายอสังหาฯ ผ่านช่องทางการตลาดของตัวเอง เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด และสร้างรายได้ให้องค์กรและพนักงาน จากเดิม ที่มีฝ่ายขายและการตลาดประมาณ 250 คน จากพนักงานในเครือกว่า 1,200 คน แต่วันนี้ทุกคนกลายเป็นนักขายอสังหาฯ ออนไลน์ไปแล้ว
  1. มองการณ์ไกลถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในวันข้างหน้า
            ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯ ต้องมีวิสัยทัศน์เตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19 โดยหลายแบรนด์มองว่าจะเกิด New Normal ความปกติใหม่ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น องค์กรและพนักงานต่างปรับตัวไป Work From Home กันมากขึ้น ทำให้ฟังก์ชั่นการใช้งานพื้นที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไป อย่าง แบรนด์ออริจิ้นมองว่าคนจะกล้าซื้อบ้านที่อยู่ไกลที่ทำงานมากขึ้น ต้องการพื้นที่อยู่อาศัยที่มีขนาดใหญ่ และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ภายในห้องพักต้องมีพื้นที่สำหรับกิน นอน ทำงาน และออกกำลังกาย เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ภายในห้องจะต้องมีฟังก์ชั่นการใช้สอยที่มากกว่าเดิม
            รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของการออกแบบพื้นที่ส่วนกลาง Co-….ing space เป็น Co-separate space ด้วยการออกแบบให้คนนั่งแยกกันในพื้นที่ส่วนกลางเดียวกัน เพื่อตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยของสุขภาพอนามัยมากขึ้น และใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบไร้สัมผัส (Touchless) ไม่ว่าจะเป็น ระบบสแกนจากการจดจำใบหน้า (Face Recognition) หรือระบบการสั่งการด้วยเสียง (Voice Command) สำหรับใช้ในพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ลิฟท์ เป็นต้น คาดว่าเราคงได้เห็นการออกแบบการใช้งานพื้นที่ภายในห้องและการใช้พื้นที่ส่วนกลางแบบใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตหลังยุคโควิด-19 เป็นแน่

        วิกฤตโควิด-19 นี้น่าจะส่งผลกระทบในระยะยาว ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ทั้งรายใหญ่ และรายย่อยต่างต้องเร่งมือปรับตัวกันยกใหญ่ นอกจากต้องเร่งปรับตัวเพื่อสร้างยอดขายในปัจจุบัน และเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับลูกบ้านแล้ว ยังต้องคาดการณ์ถึงอนาคตในวันข้างหน้า ที่วิถีชีวิตของผู้คนจะเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ FEASY โปรแกรมวิเคราห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ และขอแนะนำให้นักลงทุนอสังหาฯ รวมทั้งผู้ประกอบการ หมั่นบริหารพอร์ตการลงทุนอสังหาฯ ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คุณปรับตัวได้อย่างทันท่วงที 

Keyword: ผู้ประกอบการอสังหา, โควิด

#ความรู้อสังหาฯ.#ตลาดอสังหาฯ#กลยุทธ์การลงทุน.#อสังหา 101#มุมมองนักลงทุน

เว็บไซต์ อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1135

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม สูตรการคำนวณ พ

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนขบวน (Interchange Station) ที่ขยายเส้นทางเดินขบวนมาจากสถานีบางซื่อ

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล Floor-to-c