ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สรุป! ถนนกว้างเท่านี้ สร้างอาคารได้ขนาดเท่าไหร่?

 

        ความกว้างถนนส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และราคาที่ดิน! บางคนถามมาว่าทำไมราคาที่ดินติดถนนใหญ่ ถึงแพงกว่าราคาที่ดินในซอย? ขนาดถนนหน้าที่ดินมีความสำคัญอย่างไร? ต้องบอกว่าความกว้างถนนมีผลต่อศักยภาพของทีี่ดินมากเลยทีเดียว ต่อให้ไม่ใช่ที่ดินในซอย แต่ความกว้างถนนต่างกันเพียงไม่กี่เมตร ราคาที่ดินก็อาจจะต่างกันมาก เพราะศักยภาพในการพัฒนาอาคารต่างกัน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานครเพราะมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเยอะ เรามาดูตัวอย่างกัน

จะสร้างคอนโด ติดถนนกว้างน้อยกว่า 6เมตรได้ไหม?

มักมีคนถามว่าถ้ามีที่ดินติดถนนกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะสร้างคอนโด อะพาร์ตเมนต์ได้ไหม? คำตอบคือ หากอยู่ในกรุงเทพมหานครจะไม่สามารถสร้างอาคารขนาดมากกว่า 2,000 ตร.ม. ได้โดยอ้างอิงจาก

  • กฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 25171) ข้อ 3 (ซ) อาคารขนาดใหญ่ให้มีที่จอดรถยนต์ ตามจำนวนที่กำหนดของแต่ละประเภทของอาคารที่ใช้เป็นที่ประกอบกิจการในอาคารขนาดใหญ่นั้นรวมกัน หรือ ให้มีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่อาคาร 120 ตร.ม. (เศษของ 120 ตารางเมตรให้คิดเป็น 120 ตารางเมตร ทั้งนี้ให้ถือที่จอดรถยนต์จำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์)
  • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2544 ข้อ 90 ทางเข้าออกของรถจากที่จอดรถหรืออาคารจอดรถ ซึ่งมีที่จอดรถตั้งแต่ 15 คันขึ้นไป ต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร และยาวต่อเนื่องไปสู่ทางสาธารณะที่กว้างกว่า
  • อาคารขนาดใหญ่ คือ อาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้น หรือชั้นใดชั้นหนึ่งตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรืออาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร และมีพื้นที่รวมกันทุกหรือชั้นใดชั้นหนึ่ง เกิน 1,000 ตารางเมตร

หมายความว่าถ้าจะสร้างอาคารขนาดใหญ่ (พื้นที่รวมตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป) ได้ ต้องมีที่จอดรถ 1 คัน/พื้นที่อาคาร 120 ตร.ม. เท่ากับต้องมีที่จอดรถขั้นต่ำ 17 คัน (2000/120 = 16.67 ปัดขึ้น) ซึ่งอาคารที่มีที่จอดรถตั้งแต่ 15 คันนั้นต้องมีทางเข้าออกสู่ถนนสารณะกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ยาวต่อเนื่องไปสู่ถนนสาธารณะที่กว้างกว่า

สรุปคือ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถ้าจะสร้างอาคารขนาดใหญ่จะต้องมีทางออกติดถนนกว้างอย่างน้อย 6 เมตรนั่นเอง หากต้องการพัฒนาอาคารที่อยู่อาศัยรวม เช่น คอนโดมิเนียม และอะพาร์ตเมนต์ ซึ่งต้องใช้พื้นที่ให้เต็มศักยภาพของที่ดิน ก็ต้องหาที่ดินติดถนนกว้างอย่างน้อย 6 เมตรนั่นเอง

ที่ดินติดถนนกว้างตั้งแต่ – น้อยกว่า 10เมตร พัฒนาคอนโด Low-rise ได้

หากถนนกว้างตั้งแต่ 6 – น้อยกว่า 10 เมตรจะสร้างอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษไม่ได้ ก็จะสร้างอาคารได้ขนาดไม่เกิน 9,999 ตร.ม. และสูงได้น้อยกว่า 23 เมตร (อาคารสูง คือ อาคารที่สูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป) หมายความว่าสามารถพัฒนาเป็นคอนโด Low-rise ได้

ที่ดินติดถนนกว้าง 10 – น้อยกว่า 18เมตร พัฒนาอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษไม่เกิน30,000 ตร..ได้

เพราะอาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารขนาดใหญ่พิเศษ คือ อาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้น หรือชั้นใดชั้นหนึ่งในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30,000 ตร.ม.) จะต้องมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร กฎกระทรวงฉบับที่ 50 (พ.ศ.2535)

ที่ดินติดถนนกว้างตั้งแต่ 18เมตรขึ้นไป พัฒนาอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษพื้นที่มากกว่า30,000 ตร..ได้

สำหรับที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นมากกว่า 30,000 ตารางมตร ต้องมีด้านหนึ่งค้นใดของที่ดินนั้นยาวไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18. 00 เมตร ยาวต่อเนื่องกัน โดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18.00 เมตร กฎกระทรวงฉบับที่ 50 (พ.ศ.2535)

อ่านเพิ่มเติม: ทำไมที่ดินในซอย ถึงราคาถูกกว่าที่ดินติดถนนใหญ่มาก?

จะเห็นว่าความกว้างถนนหน้าที่ดินต่างกันเพียง 1 เมตรก็ส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาอาคาร ทำให้พื้นที่อาคารที่ก่อสร้างได้ต่างกันอย่างมาก และจะส่งผลต่อราคาที่ดินอีกด้วย เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตกลงซื้อขายที่ดิน ก็ควรจะตรวจสอบความกว้างถนนให้แน่ใจว่าความกว้างถนนตามสภาพจริงนั้นเป็นเท่าไหร่ ตลอดเส้นทาง เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้

Keywords: ความกว้างถนน, ศักยภาพที่ดิน, พัฒนาคอนโด, ราคาที่ดิน

#กฎหมายอสังหาฯ#ที่ดิน#ราคาที่ดิน

เว็บไซต์ อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1292

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม สูตรการคำนวณ พ

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนขบวน (Interchange Station) ที่ขยายเส้นทางเดินขบวนมาจากสถานีบางซื่อ

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล Floor-to-c