ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำไมราคาที่ดินในซอย ถึงถูกกว่าราคาที่ดินติดถนนใหญ่มาก?

 

หลายคนสงสัยว่าทำไมที่ดินอยู่ใกล้กัน แค่ถนนกว้างไม่เท่ากันไม่กี่เมตรถึงขายที่ดินได้ในราคาที่ต่างกันนัก? โดยเฉพาะที่ดินในซอยที่ราคาจะถูกกว่าที่ดินติดถนนใหญ่มาก ๆ เป็นเพราะอะไร? เดี๋ยวเรามาดูกันชัด ๆ ถึงเหตุผล และตัวอย่างว่าที่ดินลักษณะเหมือนกัน ทำเลเดียวกัน แต่ถนนด้านหน้าที่ดินขนาดต่างกัน จะมีราคาที่ดินต่างกันขนาดไหน?

ราคาที่ดิน ขึ้นอยู่กับ ศักยภาพในการพัฒนา

ยิ่งสร้างอาคารได้ใหญ่ขึ้น มูลค่าโครงการสูงขึ้นก็ตั้งราคาที่ดินได้สูงขึ้น

สาเหตุที่ราคาที่ดินในซอย ถูกกว่าที่ดินติดถนนใหญ่มาก นั่นเป็นเพราะว่า ความกว้างถนนหน้าที่ดิน มีผลต่อศักยภาพในการพัฒนาอาคาร ถ้าถนนแคบกว่า 6 เมตรจะนำไปพัฒนาเป็นอาคารขนาดไม่เกิน 2000 ตร.ม. เท่านั้น ทำได้เพียงโครงการแนวราบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม อาคารพานิชย์ โฮมออฟฟิศ เป็นต้น ถึงแม่ที่ดินจะอยู่ในทำเลดี พื้นที่สีผังเมืองที่มี FAR สูง แต่ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้มากนัก

อ่านเพิ่มเติม: สรุป! ถนนกว้างเท่านี้ สร้างอาคารได้ขนาดเท่าไหร่?

ส่วนที่ดินในซอยที่กว้างไม่ถึง 10 เมตร จะพัฒนาอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษไม่ได้ ก็จะพัฒนาได้เพียงอาคาร Low-rise สูงน้อยกว่า 23 เมตร พื้นที่ไม่เกิน 9,999 ตร.ม. หากไปเทียบกับที่ดินแปลงที่ติดถนนใหญ่กว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไปที่พัฒนาอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษได้ จะมีพื้นที่อาคารน้อยกว่า พื้นที่ขายน้อยกว่า มูลค่าโครงการต่ำกว่า ทำให้ราคาที่ดินต่ำกว่านั่นเอง

คิดเหมือนเราเป็นแม่ค้าขายขนมเค้ก ถ้าจะขายขนมเค้กชิ้นละ 50 บาท เราก็จะยอมจ่ายเงินสูงกว่าสำหรับต้นทุนค่าเตาอบที่อบขนมได้ 500 ชิ้น/วัน มากกว่าเตาอบที่อบขนมได้เพียง 100 ชิ้น/วัน เพราะถ้าเราขายได้เยอะขึ้น ก็สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงกว่าได้ ถ้าเทียบเป็นที่ดิน ถ้าที่ดินทำเลเดียวกัน นำไปพัฒนาเป็นคอนโดขายได้ราคาต่อตร.ม. พอ ๆ กัน ที่ดินที่สามารถนำไปพัฒนาคอนโดมิเนียมได้จำนวนห้องมากกว่า ก็จะขายได้ในราคาสูงกว่า เพราะ developer สามารถรับต้นทุนที่สูงขึ้นได้ หากคุ้มค่าต่อการลงทุน

หากถนนหน้าที่ดินกว้าง 5 เมตร, 6 เมตร, 10 เมตร ราคาที่ดินจะต่างกันขนาดไหน

ถ้ามีที่ดินขนาด 1.5 ไร่ รูปร่างเหมือนกัน อยู่ในทำเลพื้นที่สีผังเมืองสีแดง พ.5 (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) FAR 10:1 OSR 3% เหมือนกัน แต่มีทางเข้าออกสู่ถนนขนาดไม่เท่ากัน จะมีศักยภาพในการพัฒนาต่างกัน ทำให้ราคาที่ดินต่างกันมาก ถึงแม้แปลงที่ดินจะอยู่ใกล้กันก็ตาม

ในกรณีนี้ หากสร้างอาคารได้สูงสุดตาม FAR จะสร้างอาคารได้พื้นที่ 24,000 ตร.ม./แปลงที่ดิน แต่เมื่อดูศักยภาพคู่กับความกว้างถนนแล้ว บางแปลงอาจไม่สามารถสร้างอาคารได้เต็มศักยภาพของ FAR ได้ อาจต้องสร้างหลายอาคารในที่ดินแปลงเดียวกัน ส่วนจะสร้างได้กี่อาคารนั้นก็ต้องดูรูปร่างที่ดิน หน้ากว้างที่ดิน เพื่อกำหนดระยะห่างระหว่างอาคาร และระยะร่นอีกด้วย

  • ถ้าถนนกว้าง 5 เมตร สร้างอาคารได้ขนาดไม่เกิน 2,000 ตร../อาคาร มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการแนวราบ
  • ถ้าถนนกว้าง 6 เมตรสร้างอาคารได้สูงสุด 9,999 ตร.ม./อาคาร มีศักยภาพในการพัฒนาคอนโดLow-rise
  • ถ้าถนนกว้าง 10 เมตร สร้างอาคารได้ขนาดสูงสุด 30,000 ตร../อาคาร มีศักยภาพในการพัฒนาคอนโด High-rise แต่เมื่อดูคู่กับกฎผังเมืองแล้ว ต้องเลือกตามศักยภาพที่น้อยกว่า คือสร้างได้ 24,000 ตร.ม.
    (ที่ดินต้องมีหน้ากว้างที่ดินด้านใดด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า12 เมตรติดกับทางสาธารณะ และถนนสาธารณะต้องมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรยาวตลอดแนวไปจนถึงถนนสาธารณะอื่น (อีกสาย) ซึ่งต้องกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร เข่นกัน

จะเห็นว่าถ้าที่ดินติดถนนกว้างไม่ถึง 6 เมตรจะสร้างอาคารขนาดใหญ่ไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียม อะพาร์ตเมนต์ หรืออาคารที่ต้องการใช้พื้นที่มาก ๆ เพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้สูงนัก จึงมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นโครงการแนวราบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม อาคารพานิชย์ โฮมออฟฟิศ เป็นต้น โดยจะพัฒนาได้กี่อาคารนั้นก็ขึ้นอยู่กับการวางผัง และการกำหนดระยะห่างระหว่างอาคารอีกด้วย อย่างไรก็ตามหากไม่ใช่โครงการ Hi-end ระดับราคาแพงมาก มูลค่าโครงการจะไม่สูงเท่ากับการพัฒนาคอนโดมิเนียม ทำให้ต้นทุนราคาที่ดินที่ developer จะซื้อเพื่อนำไปพัฒนาโครงการขายไม่สูงนักเมื่อเทียบกับที่ดินแปลงอื่น

ส่วนที่ดินติดถนนกว้างตั้งแต่ 6 แต่ไม่ถึง 10 เมตรก็สามารถพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียม หรือ อะพาร์ตเมนต์ได้ แต่เป็นได้เพียงอาคารสูงไม่เกิน 8 ชั้น (Low-rise) และ อาคารขนาดใหญ่ <10,000 ตร.ม. เพราะไม่สามารถพัฒนาอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่ได้ ทีนี้ หากเรามาลองเทียบกันว่า ที่ดินที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน ทำเลเดียวกัน แต่ติดถนนกว้างต่างกันคือ 6 เมตร และ 10 เมตร ตามลำดับ จะสามารถตั้งราคาขายที่ดินได้ต่างกันขนาดไหน? ด้วยวิธีการคำนวณต้นทุนราคาที่ดิน (Residual Method) โดยมีหลักการดังนี้

ราคาที่ดิน = มูลค่าโครงการ – ค่าใช้จ่าย – กำไรขั้นต้น

จะเห็นว่าที่ดินลักษณะเหมือนกัน ทำเลเดียวกัน แต่ถนนหน้าที่ดินกว้างต่างกัน ก็ทำให้ราคาที่ดินต่างกันได้มากถึง 2.47 เท่า เพราะที่ดินติดถนน 6 เมตร สร้างอาคารได้เพียง 9,999 ตร.ม. ในขณะที่ที่ดินติดถนนกว้าง 10 เมตร สามารถสร้างอาคารได้สูงสุดตามศักยภาพ FAR 10:1 คือ 24,000 ตร.ม. ทำให้มูลค่าโครงการต่างกันอย่างมาก เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และกำไรขั้นต้นแล้ว คงเหลือต้นทุนราคาที่ดินต่างกัน โดยแปลงที่ดินถนนกว้าง 6 เมตร มีต้นทุนราคาที่ดิน 206,645 บาท/ตร.วา ส่วนที่ดินแปลงที่ติดถนนกว้าง 10 เมตร มีต้นทุนราคาที่ดิน 510,000 บาท/ตร.วา ทั้งที่ตั้งราคาขายคอนโดเท่ากัน แต่ต้นทุนราคาที่ดินที่คำนวณออกมาได้ ซึ่งสามารถใช้ตั้งเป็นราคาขายที่ดินได้นั้นต่างกันเพราะพื้นที่อาคารที่ก่อสร้างได้ต่างกันนั่นเอง เพราะฉะนั้น ก่อนจะซื้อ-ขายที่ดิน ต้องวิเคราะห์ศักยภาพที่ดินให้ดี จึงจะสามารถตั้งราคาขายที่เหมาะสมได้

ดังนั้น หากมีคนถามว่าที่ดินอยู่ในทำเลเดียวกัน ทำไมราคาถึงไม่เท่ากัน ก็สามารถตอบได้ว่า ศักยภาพในการพัฒนาของที่ดินแต่ละแปลงไม่เท่ากัน ทำให้สามารถตั้งราคาขายได้ต่างกันนั่นเอง

หากคุณต้องการคำนวณต้นทุนราคาที่ดินตามตัวอย่างข้างต้น ก็ทำได้ไม่ยาก เพราะคุณสามารถใช้เครื่องมือคำนวณต้นทุนราคาที่ดิน ในเว็บไซต์ Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ เพียงเพิ่มข้อมูลที่ดินของคุณเข้าไป ก็สามารถ “สร้างแผนการลงทุน” เข้าถึงข้อมูลตลาดในพื้นที่ คู่แข่งและสถานที่สำคัญ รวมไปถึงคำนวณต้นทุนราคาที่ดินโดยมีข้อมูลมาตรฐานราคาค่าก่อสร้าง ประกอบการตัดสินใจ

สมัครสมาชิก ทดลองใช้ฟรี ที่นี่ www.feasyonline.com/member/register
(แพคเกจฟรี สามารถวิเคราะห์ที่ดินได้ 1 แปลง เก็บข้อมูลไว้ตลอดไป)


Keywords: ราคาที่ดิน, ความกว้างถนน, ศักยภาพที่ดิน

#กฎหมายอสังหาฯ#ที่ดิน#ราคาที่ดิน

เว็บไซต์ อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1293

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม สูตรการคำนวณ พ

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนขบวน (Interchange Station) ที่ขยายเส้นทางเดินขบวนมาจากสถานีบางซื่อ

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล Floor-to-c