ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เช็คสีผังเมือง EEC ชลบุรี บนแผนที่ !! ใหม่ by tooktee

          เช็คสีผังเมือง EEC จากที่ได้มีประกาศแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือชื่อเรียกกันอย่างติดปากว่า ผังเมือง EEC (อีอีซี) นั้น
          มีประเด็นอะไรกันบ้างที่น่าสนใจ ??? ทีมงานทุกที่ดอทคอม นำเนื้อหามาสรุปให้ท่านได้รู้ รวมไปถึงมีเครื่องมือที่ช่วยให้ท่านได้เช็คสีผังเมือง EEC ง่าย ๆ บนแผนที่ ดังนี้
          จากประกาศราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 9 ธันวาคม 2562 และได้มีผลบังคับใช้ในวันถัดมานั้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นแผนผังการพัฒนาขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 8.29 ล้านไร่ ในท้องที่ตั้งแต่กรุงเทพมหานคร (บางส่วน) ไปตามจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง รวมจำนวนถึง 5 จังหวัดเลยทีเดียว
          สิ่งที่ตามมาเมื่อผังเมือง EEC ประกาศใช้ ส่งผลให้ผังเมืองรวมเดิม ตามกฎหมายผังเมือง จะถูกยกเลิกทั้งหมด คิดเป็นผังเมืองรวมจังหวัด 3 ผัง ผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน 29 ผัง (แบ่งออกเป็น ฉะเชิงเทรา 8 ผัง ชลบุรี 10 ผัง และระยอง 11 ผัง) โดยในผังเมือง EEC นี้จะมีพื้นที่บางส่วนที่ไม่ครอบคลุมข้อกฎหมาย คือ เขตพระราชฐาน และพื้นที่ทหาร (พื้นที่ที่ได้ใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ทางการทหาร)
.
          ผังเมืองที่ประกาศเป็นภาพรวม โดยในอนาคตกรมโยธาธิการและผังเมือง จะจัดทำ ร่างผังเมืองอำเภอ ซึ่งเป็นผังเมืองที่จะลงรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากแผนผังอีอีซี โดย จะจัดทำทั้งหมด 30 ผังเมือง ครอบคลุม 30 อำเภอ แบ่งเป็นจังหวัดชลบุรี 11 ผัง จังหวัด ฉะเชิงเทรา 11 ผัง และจังหวัดระยองจำนวน 8 ผัง โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถประกาศให้บังคับใช้ได้ในปี 2565
สรุปจากประกาศราชกิจจานุเบกษาพบว่า มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 11 สี แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 พื้นที่พัฒนาเมืองและชุมชน
  1. สีแดง – ที่ดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม
  2. สีส้ม – ที่ดินประเภทชุมชนเมือง
  3. สีส้มอ่อนมีจุดสีขาว – ที่ดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง
  4. สีน้ำตาล – ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ
กลุ่มที่ 2 พื้่นที่พัฒนาอุตสาหกรรม
  1. สีม่วง – ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม
  2. สีม่วงอ่อนมีจุดสีขาว – ที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม
กลุ่มที่ 3 พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม
  1. สีเหลืองอ่อน – ที่ดินประเภทชุมชนชนบท
  2. สีเขียวอ่อน – ที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม
  3. สีเหลืองมีเส้นทแยงสีเขียว – ที่ดินประเภทที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
กลุ่มที่ 4 พื้ืนที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  1. สีเขียวมีเส้นทแยงสีฟ้า – ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  2. สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว – ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากภาพด้านล่าง
สรุปการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังเมือง EEC
ขอบคุณภาพจาก www.eeco.or.th
    ซึ่งหากเช็คเปรียบเทียบสีผังเมืองกทม. (ปัจจุบัน) และสีผังเมือง EEC จะพบว่า คำจำกัดความการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ใช้ของผังเมือง EEC จะมีความแตกต่างอย่างชัดเจน
เปรียบเทียบผังเมืองกทม. และผังเมือง EEC
อาทิ สีแดง ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม เปลี่ยนเป็น ที่ดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม เป็นต้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าการจัดทำผังเมือง EEC นี้ ออกแบบเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การคมนาคมและการขนส่ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และรองรับการพัฒนาเมืองและชุมชนในอนาคตของพื้นที่ EEC นั้น ๆ
          ทั้งนี้จากฟีเจอร์เด่นในเว็บทุกที่ดอดคอม ที่มีเครื่องมือในการเช็คสีผังเมืองกทม. (ปัจจุบัน) และสีผังเมืองใหม่ (ยังไม่ประกาศใช้) ปัจจุบันทางทีมงานได้เพิ่มผังเมือง EEC ไว้ ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปเช็คการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ง่าย ๆ ตามตัวอย่างรูปภาพด้านล่าง
ผังเมือง EEC บนทุกที่ดอทคอม
หรือสามารถวาร์ปไปฟังก์ชั่นดังกล่าวทางลิงค์ https://www.tooktee.com/map?overlaymap=eec
.
          อย่างไรก็ตามข้อมูลผังสีที่อยู่ในเว็บไซต์ทุกที่ดอคคอม ได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์ Feasyonline.com  โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ ให้คุณเข้าถึงข้อมูลอสังหาฯ และเครื่องมือวิเคราะห์การลงทุน ง่าย ครบ จบในที่เดียว
          หากใครใช้ฟังชั่นในทุกที่ดอทคอม แล้วอยากได้การวิเคราะห์อสังหาฯ ฉบับเต็มสามารถสมัครสมาชิก Feasyonline.com เพื่อใช้บริการขั้นมืออาชีพได้เลยครับ
รูปบทความ : ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่
ผังเมือง EEC 
เช็คสีผังเมือง EEC
ตรวจสอบสีผังเมือง EEC
สีผังเมือง
วิธีเช็คสีผังเมือง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม สูตรการคำนวณ พ

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนขบวน (Interchange Station) ที่ขยายเส้นทางเดินขบวนมาจากสถานีบางซื่อ

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล Floor-to-c