ก่อนจะซื้อ-ขาย-โอนที่ดิน ต้องเช็คเอกสารสิทธิ์ให้มั่นใจก่อนว่าเอกสารสิทธิ์ในมือเรา เป็นประเภทไหน มีสิทธิ์ซื้อ-ขาย-โอน เปลี่ยนมือได้หรือไม่ และเราจะป้องกันสิทธิ์ของที่ดินแปลงนั้นได้อย่างไร? เพราะเอกสารสิทธิ์บางประเภท ถ้าเราไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็อาจถูกทางราชการยึดคืน หรืออาจเสียสิทธิ์จากการแย่งการครอบครองก็ได้ โดยเอกสารสิทธิ์หลักๆ ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันมีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
- โฉนดที่ดิน: ตราครุฑสีแดง
เป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ชัดเจน สามารถซื้อ-ขาย และจำนองได้ถูกต้องตามกฎหมาย มีระวางรูปถ่ายทางอากาศชัดเจน
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารสิทธิ์เดียวที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์ สามารถซื้อ-ขาย-โอนได้ โดยมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน มีสิทธิใช้สอย, จำหน่าย,ได้ดอกผลและติดตามเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอด เข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ตามหากเจ้าของไม่หมั่นเข้าไปตรวจสอบที่ดินของตน อาจ หมดสิทธิ์เมื่อมีผู้ครอบครองปรปักษ์ คือ การครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยไม่ได้หลบซ่อนเร้น ปิดบัง หรืออำพรางใด ๆ ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 10 ปี สามารถจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ด้วยการครอบครองปรปักษ์ได้ - น.ส. 3 ก:ตราครุฑสีเขียว
เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ สามารถขอออกโฉนดได้ สามารถซื้อ-ขาย-โอนได้ แต่ต้องมีการรังวัดที่ดิน และรอประกาศจากราชการ 30 วัน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกให้แก่บุคคลที่ครอบครองที่ดินทั่วไปเหมือนกัน แต่จำกัดเฉพาะบริเวณที่ดินที่ได้มีการทำระวางรูปถ่ายทางอากาศแล้วส่วนใหญ่ แล้วจะออกโดยการเดินสำรวจทั้งตำบล มีการออกเฉพาะรายที่ตกค้างจากการเดินสำรวจหรือเปลี่ยน น.ส.3,น.ส.3ข เป็น แบบน.ส.3ก ผู้ลงนามใน น.ส.3ก คือ เจ้าพนักงานที่ดิน, หรือนายอำเภอท้องที่แล้วแต่กรณี - น.ส.3 : ตราครุฑสีดำ
คล้ายกับ น.ส. 3 ก แต่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ จึงไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ดินแน่นอน สามารถซื้อ-ขายได้แต่ต้องประกาศก่อน30วัน ถึงจะโอนได้ เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกให้แก่บุคคลที่ครอบครองที่ดินทั่วไปเป็นการเฉพาะรายไม่มีระวางโยงยึดเป็นแผนที่รูปลอย ใช้สำหรับบริเวณที่ดินที่ยังไม่มีการยกเลิกอำนาจนายอำเภอผู้มีอำนาจลงนามในน.ส.3 คือนายอำเภอท้องที่ - น.ส.2
เป็นใบจอง ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้ชั่วคราว ไม่สามารถขาย จำนอง หรือ โอนได้ ยกเว้นแต่ตกทอดทางมรดก สามารถขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข) หรือโฉนดที่ดิน ได้แต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินนั้นจะต้องตกอยู่ในบังคับห้ามโอนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
ใบจอง หรือ น.ส.2 คือหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำ ประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งรัฐออกให้แก่บุคคลผู้ประสงค์จะได้ที่ดิน ของรัฐเป็นของตน โดยบุคคลผู้นั้นได้เสนอความต้องการของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็จะอนุญาตให้เข้าครอบครองที่ดิน และออกใบจองให้ไว้เป็นหลักฐาน ใบจองมีอายุการทำประโยชน์ 3 ปี และต้องเริ่มทำประโยชน์ภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับใบจอง ผู้มีใบจองจะต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินภายใน 6 เดือนนับแต่วันได้รับใบจอง ทั้งจะต้องทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบจอง มิฉะนั้นจะหมดสิทธิในที่ดินนั้น และจะต้องทำประโยชน์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 75 ของที่ดินที่จัดให้
ที่ดินที่มีใบจองนี้ ถ้ายังไม่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จะโอนให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดทางมรดก โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม เมื่อทำประโยชน์ตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ก็มีสิทธินำใบจองนั้นมาขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข) หรือโฉนดที่ดินได้ แต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินนั้นจะต้องตกอยู่ในบังคับห้าม โอนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
- ส.ป.ก. 4-01:ตราครุฑสีน้ำเงิน
เป็นหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ไม่สามารถขายหรือโอนได้ ยกว้นแต่ตกทอดทางมรดก ทั้งนี้หากผู้ที่ถือครองขาดคุณสมบัติหรือฝ่าฝืนกฎระเบียบ รวมถึงเสียชีวิตและไม่มีผู้มารับมรดกตกทอด ก็จะหมดสิทธิในการถือครองไป
จะเห็นว่าเอกสารสิทธิ์ที่ดินแต่ละประเภทให้สิทธิในที่ดิน และมีรูปแบบการหมดสิทธิในที่ดินแตกต่างกัน ก่อนจะซื้อ-ขาย-โอนที่ดินจะต้องตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ให้มั่นใจว่าเราจะมีสิทธิในการครอบครองดังเช่นที่คิดไว้หรือไม่ เพราะ หากเราจะซื้อที่ดินวิวสวย ใกล้หุบเขาเพื่อมาทำรีสอร์ท แต่ปรากฏว่าที่ดินที่เราคุยเอาไว้มีเอกสารสิทธิ์เป็น น.ส.2 หรือ ส.ป.ก. 4-01 ก็แสดงว่าเราไม่สามารถซื้อ-ขายได้ หรือ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นควรตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ที่ดินให้มั่นใจทุกครั้ง
บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/content/detail/1186
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น