ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เปิดร่างผังเมือง 'มหานครอีอีซี' (EEC) หน้าตาเป็นอย่างไร





ผังเมืองอีอีซี (EEC) หน้าตาเป็นอย่างไร ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2560 ที่ได้เริ่มมีการออกกฎหมาย ในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ
อีอีซี (EEC) นั้น ก็เปรียบเสมือนกับการสตาร์ทเดินเครื่องยนต์โปรเจคอีอีซี (EEC) ซึ่งจากการทำงานของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันอ-อก
(สกพอ.) ที่ผ่านมาก็ได้มีการดำเนินการต่าง ๆ มากมาย อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการพัฒนาสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ

การออกใบอนุญาตเขตส่งเสริมการลงทุน
รวมไปถึงการออกกฎหมายปลดล็อคข้อกฎหมายในพื้นที่ ทั้งด้านการพัฒนาที่ดิน

ด้านสิทธิการถือ

ครองที่อยู่อาศัยอีอีซี (สำหรับชาวต่างชาติ) ทำให้ชาวต่างชาติสามารถถือครองคอนโดอีอีซีได้ 100% เป็นต้น

ซึ่งปัจจุบันได้มาถึงส่วนที่เป็นกระบวนการสำคัญในการกำหนดกรอบครอบคลุมการพัฒนาในพื้นที่ ที่เป็นเครื่องมือที่จำเป็นใน

การพัฒนา นั่นคือ ขั้นตอนการออกผังเมือง EEC ที่จะครอบคลุมการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินถึง 3 จังหวัด ได้แก่

จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา
“แต่ท่านรู้หรือไม่ ???

จากการที่มีการวางแผนครอบคลุมถึง 3 จังหวัด ผังเมืองนี้ครอบคลุมพื้นที่ผังเมืองเดิมที่ประกาศใช้แล้วจำนวนเท่าไหร่???

คำตอบก็คือ       ผังเมืองรวมจังหวัด 3 ผัง

ผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน 29 ผัง (แบ่งออกเป็น ฉะเชิงเทรา 8 ผัง ชลบุรี 10 ผัง และระยอง 11 ผัง)

 

ภาพการวางผังเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

โดยนับได้ว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ ระดับภูมิภาค ในด้านการวางแผนรองรับการพัฒนาพื้นที่ในอนาคตกว่า 20 ปี

(2560 – 2580) มีพื้นที่ถึง 8,291,250 ไร่ โดยในปี 2560 มีประชากร 4,015,168 คน และคาดการณ์ว่าในปี 2580

จะมีประชากรเพิ่มเป็น 6,006,380 คน

จากช่วงที่ผ่านมาก็ได้มีประกาศร่างผังเมืองอีอีซี (EEC) ให้ประชาชนได้ศึกษาและเกิดการทำประชาพิจารณ์ขึ้น

อย่างไรก็ตามเนื้อหาสาระของร่างผังเมืองอีอีซี (EEC)นี้ สามารถสรุปแบ่งพื้นที่พัฒนาออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

พื้นที่พัฒนาเมือง พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม และ พื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม 

 

จาก 4 กลุ่มการพัฒนาพื้นที่ ก็ได้แบ่งย่อยออกเป็น 11 ประเภท การใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนี้

11 การใช้ประโยชน์ที่ดิน

   ที่ดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม (สีแดง)

  ที่ดินประเภทชุมชนเมือง (สีส้ม)

 ที่ดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง (สีเหลืองอ่อน)

 ที่ดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง (สีขาว)

 ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ  (สีน้ำตาล)

 ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ (สีม่วง)

 ที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม (สีม่วงอ่อนมีจุดสีขาว)

 ที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม (สีเขียวอ่อน)

 ที่ดินประเภทที่พระราชกฤษฏีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน (สีเหลืองมีเส้นทแยงสีเขียว)

 ด้วยที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)

ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาสภาพแวดล้อม (สีเขียวมีเส้นทแยงสีฟ้า)



                                                                         

ข้อสังเกตจากร่างผังเมืองอีอีซี (EEC) ดังกล่าว คือ จะมีการใช้คำอธิบายประเภทแตกต่างจากรูปแบบผังเมืองในปัจจุบัน

ได้แก่ ศูนย์กลางพาณิชยกรรม ชุมชนเมือง และชุมชนชนบท เป็นต้น ซึ่งปกติจะใช้คำอธิบายเช่น พื้นที่ชุมชน (สีชมพู)

สำหรับผังเมืองรวมจังหวัด และอาจะป็นพื้นที่พาณิชยกรรม (สีแดง) พื้นที่อยู่อยู่อาศัย (สีเหลือง) สำหรับผังเมืองเฉพาะ

โดยอาจเป็นการกำหนดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัยอีอีซี ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

และให้สอดคล้องกับการวางแผนของอีอีซี EEC

ทิศทางไหน อย่างไร ซึ่งหากท่านใดสนใจข่าวสารด้านอีอีซี (EEC) ก็สามารถกดติดตามข่าวสารดี ๆ ที่อัพเดตกันจากเว็บไซต์

Tooktee.com ได้เลยนะครับ


tag :  #ผังเมือง  #สีผังเมือง  #ร่างผังเมืองอีอีซี    #อีอีซี    #EEC     #ที่อยู่อาศัยอีอีซี   #ผังเมืองอีอีซี (EEC)
ที่มา : https://www.tooktee.com/content/detail/1663

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม สูตรการคำนวณ พ

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนขบวน (Interchange Station) ที่ขยายเส้นทางเดินขบวนมาจากสถานีบางซื่อ

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล Floor-to-c