ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่

ทำไมต้องรู้กฎหมายผังเมือง?
กฎหมายผังเมืองที่มีอยู่ในแต่ละจังหวัด จะบอกถึงศักยภาพในการพัฒนาว่าเราสามารถสร้าง
อาคารประเภทไหนได้บ้าง สร้างได้ขนาดเท่าไหร่ สมมุติว่าเราได้ที่ดินขึ้นมาแปลงหนึ่งในราคาถูก อยากจะสร้าง
คอนโดมิเนียมขาย แต่ที่ดินคุณตั้งอยู่ในพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นที่ดินประเภทส่งเสริมด้านชนบทและเกษตรกรรม ถึงแม้ว่าจะ
มีโอกาสสร้างคอนโดมิเนียมได้บ้างในพื้นที่ (บางพื้นที่กำหนดให้สร้างได้เพียง 5% ของพื้นที่ทั้งหมด) แต่การพัฒนาคอนโดมิเนียมแนวสูงแบบ
Hige rise สร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำให้คุณคงเป็นไปไม่ได้  ก็กลับกลายเป็นว่าคุณได้จ่ายเงินซื้อที่ดินในทำเลที่มีศักยภาพน้อยไปซะแล้ว
โอกาสในการพัฒนาอะไรก็จะยากขึ้น ก่อนจะซื้อที่ดิน หรือ อสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ก็ควรตรวจสอบสีผังเมืองให้แน่ใจกันก่อนนะคะ
ในทุกจังหวัดจะมีการกำหนดและจัดสรรผังเมืองเอาไว้ สำหรับผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2556
และร่างผังเมืองฉบับใหม่ จะแบ่งแยกออกเป็นโซนไล่ตามสีทั้งหมด 10 ประเภท (อันที่จริงมีย่อยกว่านั้นอีก) โดยจะบอกได้ว่าแต่ละสีหมายถึงอะไร เป็นที่ดินแบบไหน
อีกทั้งยังส่งผลต่อราคาที่ดินอีกด้วย ถึงแม้ว่าที่ตั้งที่ดินจะห่างกันเพียงแค่ไม่กี่เมตร ก็อาจมีศักยภาพการพัฒนาที่ต่างกันอย่างมากตามข้อกำหนดสีผังเมือง
  • พื้นที่สีเหลือง – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
  • พื้นที่สีส้ม – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
  • พื้นที่สีน้ำตาล – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
  • พื้นที่สีน้ำเงิน – ที่ดินประเภทสถาบันราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
  • พื้นที่สีน้ำตาลอ่อน – ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
  • (ในร่างผังเมืองใหม่ จะเปลี่ยนประเภทสีผังเมืองนี้เป็นพื้นที่พานิชยกรรม พ.1 และ พ.2)
  • พื้นที่สีแดง – ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
  • พื้นที่สีม่วง – ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม
  • พื้นที่สีเม็ดมะปราง – ที่ดินประเภทคลังสินค้า
  • พื้นที่สีขาวมีกรอบและเส้นทะแยงสีเขียว – ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
  • พื้นที่สีเขียว – ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
ในประเภทสีผังเมืองทั้งหมด 10 สีนั้น จะแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 31 บริเวณในร่างผังเมืองใหม่
เพิ่มขึ้นจากประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 26 บริเวณในกฎหมายผังเมืองเดิม
ซึ่งหมายความว่าถึงแม้ที่ดินจะอยู่ในพื้นที่สีเดียวกัน ก็อาจมีข้อจำกัดการพัฒนาที่ทำให้สร้างอาคารบางประเภทไม่ได้นั่นเอง
1. ดูสีผังเมืองบนแผนที่ TOOKTEE
ค้นหาทำเลบ้านของคุณจากชื่อซอย ชื่อเขต หรือชื่อโครงการบ้านของคุณ หรือซูมลงบนแผนที่ได้เลย
ขณะนี้ TOOKTEE เปิดให้บริการตรวจสอบสีผังเมืองบนแผนที่ใน 4 พื้นที่ ดังนี้
  • ดูผังเมืองรวมกรุงเทพปัจจุบันได้ที่นี่ >> CLICK
  • ดูร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฉบับใหม่ได้ที่นี่ >> CLICK
  • ดูผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมและชุมชนแหลมฉบังได้ที่นี่ >> CLICK
  • ดูผังเมืองรวมชุมชนบางปะกงได้ที่นี่ >> CLICK
  • ดูผังเมืองรวมชุมชนบ้านโพธิ์ได้ที่นี่ >> CLICK




สามารถปรับ Opacity ความโปร่งใสของแผนที่เพื่อให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น
2. คลิกบนแผนที่ เพื่อเลือกที่ตั้งที่ดิน หรือบ้านของเรา 
จะเห็นสีผังเมือง เช่น ในตัวอย่างเราดูจากสีผังเมืองปัจจุบัน พบว่าบ้านของเราอยู่ในพื้นที่เขตคลองสาน
ติดถนนกรุงธนบุรี มีสีผังเมืองสีน้ำตาล หรือ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (ย.8) FAR = 6 และ OSR =5





อยากรู้ FAR/ OSR คืออะไร บอกอะไรได้บ้าง Click!

3. ถ้าอยากรู้ว่าพื้นที่ของเราสามารถสร้างอาคารประเภทใดได้บ้าง สามารถนำประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ในตัวอย่างคือ พื้นที่สีน้ำตาล ย.8 ไปตรวจสอบได้ที่ ตารางสรุปข้อกําหนดการใช้ประโยชนที่ดินตามกฎกระทรวง
ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556
ด้วยวิธีง่าย ๆ แค่นี้เราก็สามารถตรวจสอบสีผังเมือง และการใช้ประโยชน์ที่ดินกันได้แล้ว TOOKTEE หวังว่าเพื่อนๆ
จะได้รับประโยชน์จากการใช้งานแผนที่ TOOKTEE ของเรา ใครที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์ บ้าน ที่ดิน และอื่น ๆ
ก็เข้ามาตรวจสอบสีผังเมืองกันได้เลย
ถ้าใครที่อยากรู้ว่ากฎหมายผังเมืองรวมกรุงเทพใหม่แตกต่างจากฉบับเดิมอย่างไร สามารถอ่านบทความ สรุปร่างผังเมืองใหม่
หนุนกรุงเทพให้เป็นมหานครแห่งเอเชียใน 20 ปี เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น พร้อมประกาศใช้ ธ.ค. 2563 ได้ที่นี่
หรืออยากจะเปรียบเทียบรายละเอียดสีผังเมืองรวมกรุงเทพฉบับปัจจุบัน – ฉบับใหม่ บนแผนที่ได้ที่นี่


สำหรับคนที่อยู่นอกพื้นที่ที่ TOOKTEE ให้บริการตรวจสอบสีผังเมืองบนแผนที่ก็อย่าเสียใจไป เพราะ TOOKTEE
กำลังเปิดให้บริการสีผังเมืองในจังหวัดอื่นๆ ตามมา ได้แก่ นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา เ
ชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา ระยอง เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และภูเก็ต




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  ...

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านส...

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล F...