ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

8 วิธีวางแผนการใช้เงินอย่างฉลาด


 เชื่อว่าหลายๆคน คงเคยคิดหรือศึกษาวิธีวางแผนการใช้เงินมาบ้างแล้ว แต่อาจจะมีแค่บางคนที่สามารถทำตามแผนที่ตัวเองวางไว้ได้ และในทางตรงกันข้ามบางคนก็อาจจะเจออุปสรรค เช่น มีจำนวนเป้าหมายที่วางไว้เยอะเกินไป ทำให้กลายเป็นว่าแผนที่เราวางไว้หรือวิธีในการเก็บเงินล่มในเวลาอันสั้น ทำให้เป้าหมายในการเก็บเงินยังคงเป็นเป้าต่อไป กลายเป็นว่าเงินเก็บ ณ สิ้นปียังคงเหลือเท่าเดิม ดังนั้นวันนี้ Tooktee จึงได้นำเทคนิควิธีการวางแผนการใช้เงินเล็กๆ น้อยๆ มาบอกกัน เชื่อว่าหากใครลองทำตามแล้วล่ะก็ สิ้นปีเงินเก็บต้องมีเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
วิธีวางแผนการใช้เงิน
  1. ประเมินฐานะทางการเงิน
ก่อนอื่นเลยสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการวางแผนการเงินให้เป็นแนวเดียวกับแผนที่เราวางไว้ คือ ประเมินฐานะทางการเงิน เช่น สำรวจหนี้ของตัวเองก่อนเริ่มวางแผนเก็บเงิน เช่น หนี้บัตรเครดิต ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เราทราบอยู่แล้วว่าในแต่ละเดือนเราต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ดังนั้นเราก็จะประเมินได้ว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้นเราต้องแบ่งจ่ายไปเท่าไหร่ เหลือเก็บ เหลือใช้ เท่าไหร่  มีทริคเล็กๆน้อยๆมาฝาก คือ ให้จัดการหนี้ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายเพิ่มขึ้นก่อน เช่น หนี้บัตรเครดิต เพราะหนี้ก้อนนี้ ยิ่งปล่อยไว้นาน ยิ่งสร้างภาระดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น

  1. กำหนดเป้าหมายด้วยการวางแผนการเงิน
กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่า แผนการเงินที่คุณจะใช้นั้น เพื่ออะไร เช่น เก็บเงินแต่งงาน เก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปเที่ยว หรือเก็บเงินเพื่ออนาคตตอนวัยเกษียณ  แล้วนำมาคิดวิเคราะห์ว่าต้องเก็บเงินเท่าไหร่ ใช้เวลาในการเก็บเงินกี่เดือน กี่ปี เช่น สมมติตั้งเป้าหมาย ต้องมีเงินเก็บอย่างน้อย 1 แสนบาทต่อปี หากใช้สูตรในการคำนวณ ที่ต้องเก็บออมในแต่ละเดือน เท่ากับ 100,000 หาร 12 เท่ากับ 8,333 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 8,500 บาทต่อเดือน หากทำได้ตามแผนที่วางไว้เป้าหมายที่คุณวางไว้ก็จะไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป

  1. ทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายให้เป็นนิสัย
แน่นอนว่า หากเรารู้การเคลื่อนไหวทางการเงินของเราอยู่ตลอดเวลาเราก็จะสามารถจัดการวางแผนการใช้เงินของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการทำรายรับ-รายจ่าย ไม่ว่าจะเป็นประจำวัน หรือ รายรับรายจ่ายประจำเดือน ก็ตามแต่ เราสะดวก หากเราทำรายรับ-รายจ่ายอยู่ตลอดๆ เราก็สามารถนำมาวิเคราะห์วางแผนได้ว่า รายจ่ายอะไรบ้างที่เราสามารถลดได้บ้าง เช่น เดือนๆ หนึ่ง เราใช้เงินในการกินบุฟเฟ่ต์ ช็อปปิ้ง เดือนละ 4 ครั้ง ครั้งละ 500-1,000 บาท นั้นหมายความว่าคุณ ต้องจ่ายค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า เดือนละประมาณ 2,500-5,000 บาท นี้ยังไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายอื่นๆที่นอกเหนือจากนี้ก็เป็นว่าเงินเดือนทั้งหมดแทบจะไม่เหลือให้เก็บเลย ดังนั้นคุณควรจะทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายให้เป็นนิสัย
  1. แบ่งเงินเดือนบางส่วนฝากธนาคารทันที
สำหรับใครที่กังวลว่า ฉันจะเก็บเงินได้ไหม เงินเดือนพึ่งออกได้ 3 วันก็ใช้หมดแล้ว Tooktee มีวิธีแนะนำคือ ใช้วิธีผูกบัญชีเงินฝากประจำกับบัญชีเงินเดือน เมื่อเราผูกบัญชีแล้ว เราสามารถกำหนดวันเวลาให้ทางธนาคารตัดหรือโอนเงินจากบัญชีเงินเดือนของเราไปฝากในบัญชีเงินฝากโดยอัตโนมัติ วิธีนี้จะฝึกให้เราใช้จ่ายเงินอย่างมีระเบียบวินัย จะเก็บเดือนละเท่าไหร่ จะใช้เท่าไหร่ ก็ว่ากันไป

  1. ใช้บัตรเครดิตให้มีประสิทธิภาพ 
        บัตรเครดิตคืออีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดหนี้ดีๆนี้เอง เพราะเป็นการนำเงินอนาคตออกมาใช้ก่อน ยิ่งของที่อยากได้มีผ่อนในอัตราที่ต่ำ แล้วล่ะก็ ก็มาดิคร้าบบบบบ เอาเงินอนาคตมาใช้ก่อนล่ะกัน แล้วค่อยผ่อนทีหลัง แต่อย่างไรก็ตามหากใช้บัตรเครดิตให้เป็นก่อจะเป็นคุณมากกว่าโทษได้ ตัวอย่างได้แก่ การผ่อนซื้อของที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ หรือใช้ในการลงทุนต่างๆ 
        อีกตัวอย่างคือ การนำบัตรฯ มาใช้จ่ายค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการโทรศัพท์ ที่ต้องใช้จ่ายอยู่แล้ว เพื่อสะสมแต้มและนำไปเป็นส่วนลดหรือของแถมในการซื้อสินค้าได้ (แต่ต้องซื้อของที่จำเป็น ไม่ใช่การก่อหนี้เพิ่มนะ)

  1. ลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า
การเก็บเงินโดยฝากธนาคารรอดอกเบี้ยเงินฝากอย่างเดียว คงจะน้อยเกินไป ลองแบ่งเงินบางส่วนมาลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าบ้าง ก็เป็นอีกช่องทางที่ทำให้จำนวนเงินงอกเงยขึ้นมา เช่น ซื้อหุ้น ซื้อกองทุน หรือ การลงทุนอสังหาฯ เป็นต้น

  1. ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้เท่าที่จำเป็น
วิธีที่ได้ผลที่สุดเลยคือ ประหยัดใช้เท่าที่จำเป็น ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟี่อย  แต่ไม่ใช่ประหยัดจนอดมื้อกินมื้อนะคะ แบบนั้นก็โหดเกินไป หมายถึงหักห้ามใจบ้าง อย่าให้คำว่า #ของมันต้องมี เข้ามามีอิทธิพลกับเรามากจนเกินไป สิ่งไหนไม่จำเป็นก็ละไว้บ้าง ถ้าหากอยากได้จริงๆ ก็ซื้อในโอกาสสำคัญๆ ถือว่าให้รางวัลกับตัวเอง แค่นี้เราก็ลดค่าใช้จ่ายไปบ้างแล้วล่ะค่ะ

  1. วางแผนประหยัดภาษี
อีก 1 วิธีที่จะช่วยลดค่าใช้จ่าย คือ การประหยัดภาษี จากค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา เบี้ยประชีวิต เงินบริจาค เป็นต้น ลองคำนวณว่ามีค่าอะไรบ้างที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง
        การวางแผนการใช้เงินเป็นวิธีที่ช่วยในเรื่องการใช้เงินของเราได้ดีในระดับหนึ่งเลยล่ะ แต่ถ้าจะเก็บเงินไว้เฉยๆ เราก็จะได้แค่จำนวนเงินที่เราเก็บไว้ แต่ถ้าคุณนำเงินมาลงทุนให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น จากที่มีเงินนิดหน่อยอาจจะเพิ่มขึ้นมาเกือบเท่าตัวเลยก็ได้ เช่น การลงทุนเก็งกำไรอสังหาฯ ก็เป็นอีกช่องทางที่ทำให้เงินของคุณเพิ่มมูลค่าได้เช่นกัน ซื้อ-ขาย-เช่า อสังหาฯ ได้ที่ www.tooktee.com
ที่มา : www.tooktee.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

FAR และ OSR ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมือง

FAR และ OSR คืออะไร? วิธีตรวจสอบข้อกำหนด FAR และ OSR ของที่ดินเรา  FAR และ OSR คืออะไร? FAR และ OSR เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อาคารตามประเภทสีผังเมืองในแต่ละพื้นที่ ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และทำให้โอกาสสร้างรายได้มากขึ้นหรือน้อยลงตามข้อกำหนดนี้ ซึ่งหากเราไปซื้อที่ดิน หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สีผังเมืองที่มีข้อจำกัดทาง FAR และ OSR แล้วล่ะก็ อาจส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาให้ไม่เป็นไปตามที่คุณวาดฝันไว้ก็ได้ หรือ หากซื้อมาแล้วต้องการขายต่อก็อาจจะขายได้ยาก FAR (Floor to Area Ratio)  คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน  สูตรการคำนวณ          พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  = ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดินเป็นตารางเมตร ตัวอย่าง  ที่ดินขนาด 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 9,600 ตารางเมตร OSR (Open Space Ratio)  คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม สูตรการคำนวณ พ

ยูนิโอ เอช ติวานนท์ (18/3/2562)

คอนเซ็ปต์:  คอนโด High Rise ราคาเบาๆ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีแยกติวานนท์) โดย บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (ภายในเครือบมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์) ยูนิโอ เอช ติวานนท์  ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ระหว่างซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 12-14) ย่านติวานนท์ ฝั่งขาเข้าเมือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายม่วง สถานีแยกติวานนท์  ประมาณ 100 เมตร และใกล้ทางพิเศษศรีรัช (วงแหวนรอบนอก)  ทำเลที่ตั้ง    ผังโครงการ    แบบห้อง    จุดเด่น ทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  การเดินทางสามารถเชื่อมต่อเส้นถนนสำคัญๆ ได้หลายเส้น อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ถนนนครอินทร์ รวมไปถึงถนนติวานนท์ได้ จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ที่ตั้งโครงการสามารถเดินทางโดยเท้าใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 นาที (ประมาณ 100 เมตร) เพื่อเชื่อมต่อ  รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) สถานีแยกติวานนท์  ได้  .  ซึ่งจาก  สถานีแยกติวานนท์  สามารถเชื่อมต่อกับ เส้นรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน  เพียง 3 สถานี  ผ่านสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนขบวน (Interchange Station) ที่ขยายเส้นทางเดินขบวนมาจากสถานีบางซื่อ

20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์

TOOKTEE รวบรวมมาให้แล้ว 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษยอดฮิต ที่ใช้บ่อยในวงการอสังหาริมทรัพย์  นายหน้าอสังหา  ต้องไม่พลาด มาดูกันว่ามีคำว่าอะไรบ้าง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาฯ ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยให้สามารถเข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันว่า 20 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในวงการนี้ มีอะไรบ้าง Property - หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินและสิ่งก่อสร้าง Investment - หมายถึงการลงทุน เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ Mortgage - หมายถึงสัญญากู้ยืมเงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ Lease - หมายถึงสัญญาเช่าที่มีการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Capital - หมายถึงเงินทุนหรือสิ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ Tenant - หมายถึงผู้เช่าที่เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ Landlord - หมายถึงเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้เช่า Real estate - หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเป็นเงินมาก หรือ เป็นที่ตั้งที่สำคัญ Appraisal - หมายถึงการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ Common Area Maintenance Fee (CAM) - หมายถึง ค่าส่วนกลาง Sinking Fund - หมายถึง กองทุนนิติบุคคล Floor-to-c